xs
xsm
sm
md
lg

[คำต่อคำ]SONDHI TALK : ใครชักใยสงคราม “อิสราเอล-ปาเลสไตน์“ - ทำไม? อินเดียยืนข้างอิสราเอล - ถอดรหัส “สี จิ้นผิง” พบเพื่อนเก่า “ปูติน” - ปรากฏการณ์ EV จีน ถล่มตลาดยุโรป

เผยแพร่:   ปรับปรุง:



วันที่ 20 ต.ค.2566 นายสนธิ ลิ้มทองกุล ผู้ก่อตั้งหนังสือพิมพ์ผู้จัดการ ได้ไลฟ์สด “SONDHI TALK” ผ่านเฟซบุ๊กแฟนเพจ คุยทุกเรื่องกับสนธิ ช่องยูทูป Sondhitalk หรือ Sondhitalk (ช่องสำรอง) และแอปพลิเคชัน Sondhi App โดยมีประเด็นที่ได้เล่าในวันนี้เป็น

- ใครชักใยสงคราม “อิสราเอล-ปาเลสไตน์“ !?
- ทำไม? อินเดียยืนข้างอิสราเอล
- ถอดรหัส “สี จิ้นผิง” พบเพื่อนเก่า “ปูติน”
- สงครามยิว-มุสลิม เปลี่ยนภูมิศาสตร์โลก
- ปรากฏการณ์ EV จีน ถล่มตลาดยุโรป

ติดตามได้ใน SONDHI TALK : ผู้เฒ่าเล่าเรื่อง Ep.211



คำต่อคำ SONDHI TALK EP. 212 [20ต.ค. 66]

ช่องทางการรับชมรับฟัง "คุยทุกเรื่องกับสนธิ" หรือ SONDHI TALK
แอปพลิเคชัน :SONDHI APP
ระบบ iOS ดาวโหลดได้ที่ AppStore : https://apps.apple.com/th/app/sondhi-app/id1588046647.
ระบบ Android ดาวโหลดได้ที่ Google Play : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.sondhitalk.asia.android
เฟซบุ๊กแฟนเพจ : คุยทุกเรื่องกับสนธิ
YouTube :Sondhitalk
เว็บไซต์:www.sondhitalk.com
Podcast หรือ podbean :SONDHI TALK

สวัสดีครับท่านผู้ชมวันนี้เป็นวันศุกร์ที่ 20ตุลาคมพ.ศ. 2566สวัสดีท่านผู้ชมที่กำลังชมรายการสดอยู่ทาง Sondhi App, Facebook, YouTubeและ TikTok วันนี้มีเรื่องอยู่หลายเรื่องเรื่องเล็กๆ 2-3 เรื่องส่วนเรื่องใหญ่ก็ยังคงจะเน้นอยู่ที่เรื่องสงครามระหว่างฮามาสกับอิสราเอล

เรื่องเล็กๆ เรื่องแรกคือราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแกนนำพันธมิตรฯรวม 11 คนซึ่งในนั้นมีผมอยู่ด้วยเดี๋ยวผมจะเล่าให้ฟังมีพี่ลอง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง มีคุณศิริชัย ไม้งาม มีสุริยะใส กตะศิลา เดี๋ยวค่อยเล่ารายละเอียดกัน

เรื่องที่สองเป็นเรื่องไม่ใหญ๋ไม่เล็กแต่ก็สำคัญคือผมถอดรหัสสีจิ้นผิงได้พบกับวลาดิมีร์ปูตินที่กรุงปักกิ่้งเมื่อไม่กี่วันมานี้เองในรายการประชุมใหญ่ "1แถบ 1 เส้นทาง" เบื้องหน้าเบื้องหลังมีอะไรเราไปเจาะลึกมา

เรื่องที่สองทำไมสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ถึงจะเป็นสงครามที่เปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์ของโลก เรื่องนี้ผมมีมุมมองอีกมิติหนึ่งที่ไม่ได้เน้นในเรื่องเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเพียงอย่างเดียว ผมกำลังอนุมานทำนายทายทักว่าโอกาสที่จะเกิดมีอะไรบ้าง หนึ่ง สองหรือสาม

เรื่องที่สามท่านผู้ชมหลายท่านสงสัยว่าทำไมอินเดียถึงยืนข้างอิสราเอล? มันมีเบื้องหน้าเบื้องหลังที่นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดียตัดสินใจยืนข้างอิสราเอลอย่างชัดเจนที่สุด

เรื่องสุดท้ายเป็นเรื่องปรากฏการณ์รถ EV จีนที่ถล่มตลาดยุโรปและกำลังจะถล่มตลาดโลกอันนี้จะพ่วงไปกับการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่ผมเคยพูดให้ท่านผู้ชมฟังแล้วเรื่องนี้เป็นเรื่องที่มันเกิดขึ้นแล้วและพอจะทำนายอนาคตได้


ท่านผู้ชมครับ ขอพูดถึงเรื่องพระสยามพุทธาธิราช เดือนหน้า พฤศจิกายน ผมและทีมงานจะเริ่มไปทอดกฐินตามวัดต่างๆ เหมือนที่ทำประจำทุกปี เงินที่ทอดกฐินนี้เป็นเงินที่ได้มาจากพี่น้องและท่านผู้ชมที่เช่าพระกันเข้ามา เงินบางส่วนเราก็ได้โอนไปทำบุญที่วัดต่างๆ ล่วงหน้าแล้ว เป็นการโอนเงินบุญกฐินไปล่วงหน้า น่าจะเป็นเจ้าเดียวในประเทศไทย ส่วนกำหนดการวัดไหนบ้าง อาทิตย์หน้าผมจะมาบอก เผื่อพี่น้องทั้งหลายอยากจะไปร่วมทำบุญกัน หรือใครสนใจจะทำบุญผ่านการจองพระ ก็ให้รีบจองเข้ามา ยังมีพอจองได้อยู่ พระพุทธรูปพระสยามพุทธาธิราช ให้เช่าบูชาองค์ละ 1 แสนบาท ส่วนเหรียญ ชุดละ 2,000 บาท สนใจติดต่อที่ไลน์ (LINE) @tambun

"ยาลม ๓๐๐ จำพวก" ของอาจารย์ปานเทพ จะมีการแจกแผนผังสมุฏฐานวินิจฉัยจักรา ของอาจารย์ปานเทพ 1 ชุด ถ้าสั่งยาลมฯ 6 กล่อง เหลือเวลาเพียง 11 วันเท่านั้น ก็จะหมดแล้ว เราจะหยุดแจก มีจำนวนจำกัด ติดต่อผ่าน LINE ID พิมพ์คำว่า @sunherb


ไม่พูดไม่ได้ครับ แก้วที่ระลึกครบรอบ 4 ปี รายการ SONDHI TALK แก้วนี้เก็บอุณหภูมิร้อนก็ได้ เย็นก็ได้ มีขนาด 350 ml. เก็บร้อนและเย็นได้นาน 7-8 ชั่วโมง รายได้มอบให้กับมูลนิธิไชย้ง ลิ้มทองกุล แก้วมีจำนวนจำกัด ท่านผู้ชมสนใจแก้ว ก็ส่งข้อความมาที่กล่องข้อความ (inbox) รายการ

ขอพูดเรื่อง SUN PAN นิดหนึ่ง ช่วงนี้เป็นช่วงเทศกาลเจ ผมเอาโอเลี้ยงมาให้ดู สูตรของผมคือเอาน้ำโอเลี้ยงไปทำเป็นน้ำแข็ง Ice cube ไปแช่ในตู้เย็นให้เป็นก้อน แล้วเทน้ำโอเลี้ยงสูตรโบราณลงไป แทนที่จะใส่เป็นน้ำแข็งทั่วๆ ไป เราใช้ Ice cube ที่ทำด้วยโอเลี้ยง หลายคนเห็นแล้วอยากกินบ้าง ตอนนี้ข่าวดีครับ ไม่ต้องทำเองแล้ว เพราะทางร้าน SUN PAN ได้นำสูตรของผมไปปรับ โดยบดน้ำแข็งที่ทำจากน้ำโอเลี้ยงให้เป็นเกล็ด แล้วเติมน้ำโอเลี้ยงลงไป รับรองว่าเข้มข้นไม่แพ้กัน


ท่านผู้ชมบางท่านรู้จักยกล้อใช่ไหม อยากทานยกล้อ ก็คือโอเลี้ยงแล้วราดนมสดลงไป สั่งได้ที่หน้าร้านเลย คนที่ทานเจก็ทานได้เหมือนกัน แล้วเมนูใหม่ เจ มีอยู่ ขนมปังเจมันม่วงญี่ปุ่น ขนมปังเจฟักทองญี่ปุ่น และขนมปังเจใบเตยกะทิ สามารถซื้อได้ที่ร้าน SUN PAN ปั๊ม ปตท. ราบ 1 ตรงข้ามมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ถนนวิภาวดีรังสิต


ท่านผู้ชมจำเชฟเพนนีได้ไหม เชฟเพนนี คราวที่แล้วเขาทำขนมไหว้พระจันทร์ออกมา ขายดิบขายดีมาก งวดนี้เทศกาลเจ เชฟเพนนีมีขนมเปี๊ยะเจ เขาวางขายเฉพาะช่วงเทศกาลเจ เช็ตหนึ่ง กล่องหนึ่งมีอยู่ 8 ไส้ ถ้าสนใจซื้อได้ที่ร้าน Pennny the Chef สยามพารากอน ชั้นล่าง หรือสั่งได้ที่ LINE @pennychef หรือโทรไปได้ที่เบอร์ 095-4966636 หรือแวะไปที่ร้าน SUN PAN ก็ได้ ก็มีขาย ขนมเปี๊ยะเชฟเพนนี อร่อยไม่แพ้ขนมไหว้พระจันทร์


ท่านผู้ชมจำได้ไหมว่า เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม ปีที่แล้ว ตอนที่ 150 ผมได้พูดเรื่องการก่อสร้างรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิมที่สงขลา ในรายการ SONDHI TALK จัดสร้างโดยบริษัท ทีพีไอ โพลีน พาวเวอร์ ที่อำเภอเทพา สงขลา แล้วโดนชุมชนชาวมุสลิมหลายพันคนต่อต้าน และผมก็ชี้แจงให้ฟังแล้วว่าพื้นที่นั้นเป็นพื้นที่ส่วนตัว อีกประการหนึ่ง ศาสนาทุกศาสนาย่อมอยู่ร่วมกันได้ หลังจากนั้นแล้วเหตุการณ์ก็สงบไป เพราะประเทศไทยเป็นประเทศที่คนต่างศาสนาสามารถอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ

ทีนี้ มีเจ้าแม่กวนอิมอีกเจ้าหนึ่ง วิหารเจ้าแม่กวนอิม ชื่อ อี่ทงเทียนไท้ เป็นรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม สวยมาก ตั้งอยู่ที่สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ที่กบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี ที่นี่มีพระโพธิสัตว์องค์กวนอิมเปิดให้ประชาชนเข้าไปสักการะได้


ประวัติองค์นี้ แกะสลักจากหยกขาวชิ้นเดียว เป็นรูปปางประทับบนเต่ามังกร ความสูงเฉพาะองค์พระโพธิสัตว์ 2.62 เมตร น้ำหนักเกือบ 3 ตัน มีส่วนประกอบอื่นๆ อีก 3 ชิ้น ฐานบัวสูงครึ่งเมตร น้ำหนัก 0.78 ตัน ฐานมังกรสูง 1.02 เมตร น้ำหนัก 4.95 ตัน ฐานแปดเหลี่ยมสูงเกือบ 1 เมตร น้ำหนักเกือบ 6 ตัน หยกขาวที่ใช้แกะสลักมาจากเหมืองในป่าลึก เขตเมืองนะปิทรู ประเทศพม่า (เมียนมา) โดยคุณอุทิศ ชัยลือกิจ บริจาคเนื้อหยกขาว แล้วชักลากดด้วยช้างและรถยนต์ เดินทางผ่านเข้าสู่ประเทศจีนทางด่านมูเซ ไปยังกรุงปักกิ่ง เพื่อแกะสลักโดยช่างชาวจีน แกะสลักสำเร็จเป็นที่เรียบร้อยแล้ว บรรทุกโดยรถยนต์มายังที่ท่าเทียนสิน เมืองเทียนจิน เพื่อเดินทางโดยเรือเดินทะเลมาขึ้นที่ท่าเรือแหลมฉบัง ในวันที่ 14 สิงหาคม 2557 เกือบสิบปีที่แล้ว โดยมูลนิธิ ดร.เทียมโชควัฒนา เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายส่วนนี้


มูลนิธิ ดร.เทียมโชควัฒนา เป็นองค์กรเพื่อการกุศลที่ก่อตั้งโดยลูกหลานตระกูลโชควัฒนา และพนักงานบริษัทในเครือสหพัฒน์ ก่อตั้งขึ้นเมื่อ 14 มิถุนายน 2529 มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมกิจกรรมสาธารณประโยชน์ และส่งเสริมการพัฒนาประเทศในด้านต่างๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเรื่องสุขภาพของประชาชน การศึกษาของเด็กและเยาวชนในท้องถิ่นไกล

มูลนิธินี้ ตั้งขึ้นเพื่อสืบทอดเจตนารมณ์ในการเจือจานประโยชน์ต่อส่วนรวมของอดีตท่านประธาน ดร.เทียม โชควัฒนา ผู้ก่อตั้ง และได้วางรากฐานกิจการในเครือสหพัฒน์

ดร.เทียม โชควัฒนา เริ่มต้นชีวิตการทำงานด้วยความลำบาก ความด้อยโอกาสในการศึกษาที่ท่านประสบในช่วงชีวิตเยาว์วัย ท่านก็เลยมีจิตใจตั้งใจเสมอว่าเมื่อไรที่ประสบผลสำเร็จในชีวิต จะต้องช่วยเหลือบุคคลอื่นๆ ที่ด้อยโอกาสเช่นท่าน หรือตั้งปณิธานว่า ทุกบริษัทในเครือสหพัฒน์ จะต้องเจือจานผลประโยชน์ส่วนหนึ่งของตนแก่ส่วนรวม


ทั้งหมดนี้ มูลนิธิฯ ดำเนินกิจกรรมมามาก มอบทุนการศึกษาหลายอย่างเดิมทีท่านประธานคือคุณบุณยสิทธิ์ โชควัฒนา ซึ่งเป็นบุตรชายของนายห้างเทียม มีความเลื่อมใสศรัทธาองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมอยู่แล้ว จึงได้อัญเชิญองค์พระโพธิสัตว์กวนอิมมาประดิษฐานที่นี่ และท่านประธานบุณยสิทธิ์มีความประสงค์จะให้ก่อสร้างวิหารกวนอิมอี่ทงเทียนไท้ขึ้นเพื่อประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม

ท่านผู้ชมท่านใดนับถือศรัทธาเจ้าแม่กวนอิม ใครเป็นลูกศิษย์ท่าน เดินทางไปสักการะองค์เจ้าแม่กวนอิม ณ วิหารกวนอิม อี่ทงเทียนไท้ ในสวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ วิหารจะเปิดให้เข้าสักการะได้ 06.00 - 20.00 น. ส่วนท่านใดที่สนใจทำบุญบริจาคสมทบทุนในการสร้างวิหารและกระเบื้องหลังคา ร่วมทำบุญได้ที่ชื่อมูลนิธิ ดร.เทียม โชควัฒนา ธนาคารไทยพาณิชย์ สาขาสาธุประดิษฐ์ เลขที่บัญชี 068-292049-8 ใบเสร็จสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ และจะได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างบุญด้วย ท่านผู้ชมที่อยู่ทางใต้ หรือสะดวกไปทางใต้ ก็ไปบูชาเจ้าแม่กวนอิมที่สงขลา ของคุณประชัย เลี่ยวไพรัตน์ และคุณอรพิน เลี่ยวไพรัตน์ ของบริษัท ทีพีไอ โพลีน ถ้าอยูู่ภาคกลาง หรือภาคตะวันออก ก็ไปที่ปราจีนบุรี อำเภอกบินทร์บุรี เพื่อไปบูชาเจ้าแม่กวนอิมที่เสร็จเรียบร้อยแล้ว และตั้งอยู่ในวิหาร วิหารนี้เขาเรียกว่า วิหารฟ้าดิน เลียนแบบมาจากวิหารฟ้าดินที่พระราชวังต้องห้าม ที่กรุงปักกิ่ง


พิทักษ์ทรัพย์แกนนำพันธมิตรฯ

ท่านผู้ชมครับ เมื่อวันอังคารที่ 17 ตุลาคม 2566 ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ เรื่อง คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด มีลูกหนี้ทั้งหมด 11 ราย ลูกหนี้คนที่ 1 คือคนที่เรารู้จักกันดี คือ พี่ลอง พล.ต.จำลอง ศรีเมือง ลูกหนี้คนที่ 2 คือผม สนธิ ลิ้มทองกุล คนที่ 3 คือ คุณพิภพ ธงไชย คนที่ 4 คือ สุริยะใส กตะศิลา คนที่ 5 คือ คุณสมศักดิ์ โกศัยสุข คนที่ 6 คือ คุณไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ คนที่ 7 คือ คุณอมร หรืออิทธิ หรืออมรเทพ หรือรัชต์ชยุตม์ หรืออมรศักดิ์ อมรรัตนานนท์ หรือ ศิรโชธินภักดี อิทธิประชา คนที่ 8 คือ คุณสำราญ รอดเพชร คนที่ 9 คุณศิริชัย ไม้งาม คนที่ 10 นางมาลีรัตน์ หรือมาลีรักษ์ แก้วก่า และคนสุดท้าย คือ คุณเทิดภูมิ ใจดี


โจทก์ที่ฟ้องคือ บริษัท การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย เป็นโจทก์ยื่้นฟ้องต่อศาลล้มละลายกลาง ขอให้ลูกหนี้ทั้ง 11 ราย ล้มละลาย และศาลมีคำสั่งลงวันที่ 12 กันยายน 2566 ให้พิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ 11 รายนี้

ท่านผู้ชมครับ คดีนี้เป็นคดีที่การท่าอากาศยานฯ ไปฟ้องศาลแพ่งว่าเราทำให้การท่าอากาศยานฯ เสียหาย ซึ่งเรียกร้องค่าเสียหาย ศาลชั้นต้นพิพากษาให้เราแพ้ แล้วพิพากษาให้เราจ่ายเงินทั้งหมด 11 คน ร่วมกันจ่ายเงิน 500 ล้านบาท ศาลอุทธรณ์ยืน ยังให้จ่าย 500 ล้านบาท เหมือนกัน มาถึงศาลฎีกาสุดท้าย ศาลฎีกาท่านก็ยืนอีก ให้จ่าย 500 ล้านบาท พวกผมคงไม่มีเงินไปจ่ายหรอกครับ เพราะว่าสิ่งที่พวกผมทำนั้น พวกผมยังมั่นใจว่าคำพิพากษานั้นได้ตั้งธงไว้เรียบร้อยแล้ว โดยทางศาลเป็นคนตั้งธงมาว่าต้องเล่นงานพวกนี้ให้หนัก แล้วก็ไม่ใช่เป็นการล้มละลายครั้งแรกของผม นี่เป็นการล้มละลายครั้งที่ 2 ครั้งแรกเมื่อประมาณปี 2540 หรือ 2541 (1973) ตั้งยี่สิบกว่าปีแล้ว ช่วงนั้นเป็นช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ต้มยำกุ้ง บริษัทในเครือ หรือบริษัทต่างๆ ทั่วประเทศไทย ต่างเดือดร้อนกันไปหมด ล้มะลายกันเป็นแถว บริษัทที่ผมทำอยู่ก็ไม่พ้น ก็เลยต้องล้มละลายตาม


ครั้งนี้ก็อีกเหมือนกัน เพราะว่าพวกเราไม่มีเงินจะไปจ่ายหรอกครับ เงินตั้ง 500 ล้านบาท แล้วศาลท่านไม่พิจารณาคำต่อสู้ของพวกเราเลยแม้แต่นิดเดียว คือท่านมีธงของท่านอยู่แล้ว ไม่เป็นไร ผมเสียใจไหม ? ผมไม่เสียใจหรอกครับ เรื่องนี้ เพราะเราสู้กันเพื่อประโยชน์ของชาติบ้านเมือง

ตอนที่ผมล้มละลายครั้งแรกนั้น มีอาจารย์ปุ๊ อาจารย์จันทน์ทิพย์เป็นคนดูแลผม เลี้ยงดูผม พออาจารย์ปุ๊ไม่อยู่ เสียชีวิตไปแล้ว ผมออกมาจากเรือนจำ คนที่ดูแลผมต่อมาก็คือลูกชาย โชคดีที่ผมมีลูกชายที่กตัญญู คือ คุณจิตตนาถ ลิ้มทองกุล สนธิ ลิ้มทองกุล ล้มละลายมาสองครั้งในชีวิต โดนยิงมาแล้วสองร้อยนัด ติดคุกติดตะรางมาแล้ว ท่านผู้ชมว่าผมได้ชดใช้หนี้แผ่นดินมากพอหรือยัง ผมว่ามากพอแล้วนะ สำหรับมนุษย์คนหนึ่งอย่างผม ที่พูดมานี่ไม่ได้น้อยอกน้อยใจอะไรทั้งสิ้น ถือว่ามันเป็นภาระที่ต้องรับผิดชอบ และผมไม่เสียใจ เหมือนกับที่คุณศิริชัย ไม้งาม พูด ไม่เสียใจเลยแม้แต่นิดเดียว สิ่งที่ผมสนใจมากที่สุดคือ ปัญญาของผม เอาปัญญามาให้ท่านผู้ชมได้มากน้อยแค่ไหน นั่นคือสิ่งที่ผมจะทำก่อนที่ผมจะตาย เพราะว่าผมมีทรัพย์สินที่สำคัญที่สุด และไม่มีใครเอาไปได้ ท่านผู้ชมรู้ไหมว่าคืออะไร ? ใจผม ใจเป็นใหญ่ ใจเป็นประธาน ไม่มีใครเอาไปได้หรอก "เสียอะไรเสียไป รักษาใจให้ดี"

ถอดรหัส "สี จิ้นผิง" พบเพื่อนเก่า "ปูติน"


ท่านผู้ชมครับ ท่านผู้ชมรู้หรือเปล่าว่าในรอบสิบปีที่ผ่านมานี้ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ให้ท่านทายว่าเขาพบกันมากี่ครั้งแล้ว ? 42 ครั้ง มหัศจรรย์มาก คนระดับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง กับประธานาธิบดีรัสเซีย ปูติน ถ้าพบกัน 42 ครั้ง แสดงว่า หนึ่ง อุดมการณ์ หลักการเหมือนกัน สอง เข้าใจปัญหาซึ่งกันและกัน สาม เป็นเพื่อนเก่า เพื่อนตาย ที่พร้อมจะช่วยเหลือซึ่งกันและกัน สี่ ไม่หวั่นไหวต่ออำนาจอิทธิพลหรือความโลภ ไม่เหมือนนายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ที่เอาแต่ประโยชน์ตัวเองและประโยชน์อินเดียเป็นที่ตั้ง

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ได้พบกับประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน ในการประชุมสุดยอดความร่วมมือ "หนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง" ครั้งที่ 3 ที่กรุงปักกิ่ง ท่ามกลางสถานการณ์โลกที่ร้อนแรง ทั้งสงครามในยูเครน และสงครามระหว่างอิสลาเอล-ปาเลสไตน์

ประธานาธิบดีปูติน มาเยือนปักกิ่ง ก่อนออกเดินทาง ทำเนียบประธานาธิบดีบอก สองผู้นำ คือ สี จิ้นผิง และ ปูติน จะหารือเกี่ยวกับประเด็นภูมิภาคและประเด็นระหว่างประเทศในปัจจุบัน ซึ่งแน่นอนที่สุด ทำเนียบรัสเซียพูดว่า รัฐบาลจีน กับรัสเซีย ยึดถือจุดยืนที่ใกล้เคียงกัน หรือเหมือนกัน ในประเด็นสำคัญระดับโลก แล้วก็ยังย้ำถึงความสัมพันธ์กับสถานีโทรทัศน์ซีซีทีวี ว่า แสดงความหวังเพิ่มความสัมพันธ์ระบบทวิภาคีกับประเทศจีน การเดินทางไปถึงนั้น ทางการจีนแสดงถึงการให้เกียรติอย่างสูง จัดกองทหารเกียรติยศ 3 เหล่าทัพ สวนสนามที่ลานจอดเครื่องบิน ให้นายหวัง เหวิน เทา รัฐมนตรีพาณิชย์ เป็นผู้เดินทางไปต้อนรับด้วยตัวเอง


รถยนต์ที่ผู้นำรัสเซียใช้ในการเดินทางในการประชุมที่ปักกิ่งคือรถ Aurus ลีมูซีน ซึ่งเป็นรถยนต์ที่ผลิตในรัสเซีย ไม่แน่ใจว่ารัสเซียผลิตเอง หรือฝ่ายจีนจัดสรรให้ แต่แสดงถึงความแตกต่างพิเศษจากผู้นำทุกคนเลย เพราะผู้นำทุกคนจะใช้รถยนต์หงฉี ของจีน ในการเดินทาง

รถ Aurus ลีมูซีน

รถยนต์หงฉี
เมื่อเจอกันแล้ว สี จิ้นผิง จับมือสองมือกับปูติน บอกว่า "ยินดีต้อนรับเพื่อนเก่า" คือในภาษาจีนนั้น ถ้าคนที่คลื่นความถี่เดียวกัน นิสัยใจคอเหมือนกัน มีความรักใคร่กัน เขาจะเรียกคนพวกนี้ว่า เหล่าเผิงโหย่ว ก็คือเพื่อนเก่า ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง บอกว่า ขอยินดีต้อนรับสู่ประเทศจีน การประชุมครั้งนี้เป็นการประชุมครบรอบสิบปีของการก่อตั้งหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง ซึ่งประเทศรัสเซีย และประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน มีส่วนสำคัญในการสนับสนุนโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางอย่างแน่นอนที่สุด


แม้กระทั่งการติดต่อการซื้อแก๊ส การค้าขายระหว่างรัสเซียกับจีนนั้น ยอดค้าขายตอนนี้ขึ้นไปจนถึงสามแสนล้านเหรียญสหรัฐแล้ว ถือว่าเป็นยอดที่สูงมาก

ผมเป็นคนที่ช่างสังเกต ความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของสี จิ้นผิง กับ ปูติน ให้สังเกตภาพถ่าย ทั้งสองคนยิ้มแย้มแจ่มใส สายตามองกันอย่างรู้ใจ ไม่ใช่ซีรีส์วายนะครับท่านผู้ชม แต่เป็นความจริงใจของผู้นำที่เป็นนักเลงโตในโลกนี้อย่างคนละแบบ ปูติน เป็นประเภทปะฉะดะ มาเมื่อไรกูชนเมื่อนั้น สี จิ้นผิง ล้ำลึก เวลาจะออกอาวุธแต่ละทีก็จะออกแบบมวยไท่เก๊ก ใช้ความสงบสยบความเคลื่อนไหว


ผมจะแนะนำท่านผู้ชมนิดหนึ่ง ท่านผู้ชม ให้สังเกตทีหลัง ถ้าเราสังเกตตำแหน่งภาพถ่ายร่วมกันทางตำแหน่งที่นั่งในงานจะพบว่า ปูติน จะอยู่ไม่ซ้ายก็ขวาของสี จิ้นผิง ตลอดเวลา โดยธรรมเนียมจีนแล้ว ซ้ายมือเจ้าภาพคือคนที่ได้รับเกียรติสูงสุด ส่วนถ้านั่งขวามือ ต้องถือว่าเป็นคนที่สนิทและรู้ใจกัน


ผู้นำประเทศที่นั่งอยู่ทางซ้ายและขวาของสี จิ้นผิง มีอยู่ 3 คน คนแรก คือ วลาดิมีร์ ปูติน คนที่สอง คือ โจโก วิโดโด ประธานาธิบดีอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นประธานอาเซียนวาระปัจจุบัน คนที่สาม คือ ประธานาธิบดีฆาเซิม-โฌมาร์ต โตกาเยฟ ของคาซัคสถาน ซึ่งเป็นประเทศแรกที่สี จิ้นผิง ประกาศแนวคิดหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง เมื่อสิบปีก่อ่น ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เป็นคนกล่าวเปิดการประชุมสุดยอดหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง แต่คนที่กล่าวปิด คือประธานาธิบดีปูติน แสดงถึงความสำคัญของรัสเซียที่มีต่อจีน ที่ใช้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางเป็นยุทธศาสตร์ในการพัฒนา ซึ่งแน่นอนว่าจะมีผลเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของโลก


เรื่องนี้อาจจะมีการตีความได้จากคำกล่าวของสี จิ้นผิง ในการหารือร่วมกับปูติน มีคำพูดที่มีนัยสำคัญหลายเรื่อง เป็นต้นว่า จีนยินดีจะทำงานร่วมกับรัสเซียเพื่อทำความเข้าใจกับแนวโน้มแห่งประวัติศาสตร์ สอดคล้องกับกระแสของการพัฒนาโลกโดยยึดผลประโยชน์พื้นฐานของประชาชนทั้งสองชาติ สร้างยุคสมัยแห่งความร่วมมือทวิภาคี แสดงถึงความรับผิดชอบในฐานะที่เป็นประเทศใหญ่ทั้งคู่ สนับสนุนการพัฒนาและความเจริญรุ่งเรืองของสองประเทศ พิทักษ์ความยุติธรรมระหว่างประเทศ และส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการพัฒนาร่วมกันของโลก

ท่านผู้ชมครับ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เคยกล่าวหลายครั้งว่าขณะนี้โลกกำลังเผชิญการเปลี่ยนแปลงครั้งประวัติศาสตร์ และจีนจะยืนอยู่บนทิศทางที่สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง สี จิ้นผิง พูดต่อว่า โลกจะไม่มีวันได้ถูกบงการโดยมหาอำนาจเดี่ยว (นัยก็คืออเมริกา และโลกตะวันตก) อีกต่อไป


ในการประชุมสมัชชาพรรคคอมมิวนิสต์จีนครั้งที่ 20 เมื่อปีที่แล้ว (2565) จีนยอมรับแล้วว่าตัวเองเป็นประเทศใหญ่ แต่จีนไม่ได้วางอำนาจบาตรใหญ่ จีนและรัสเซียมองเห็นพ้องกัน 100 เปอร์เซ็นต์ ว่าสงครามและความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในโลกทุกวันนี้เพราะโลกถูกบงการโดยมหาอำนาจเพียงไม่กี่ประเทศ หลักๆ ผู้นำก็คือสหรัฐอเมริกา และมีกลุ่มประเทศทางยุโรป สหราชอาณาจักรก็ด้วย อังกฤษ การพัฒนาความร่วมมือต่างๆ ถูกตั้งเงื่อนไขอย่างไม่ยุติธรรม ผู้นำจีนจึงบอกว่า จีนพร้อมสนับสนุนการพัฒนาร่วมกันและพิทักษ์ความยุติธรรมในเวทีระหว่างประเทศ


ตลอดสิบปีที่ผ่านมา จีนได้ใช้โครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทางกระจายความเจริญจากพื้นที่ริมชายฝั่งทะเลไปยังพื้นที่ตอนในของประเทศ จนเปลี่ยนจากกองหลังกลายเป็นแนวหน้า ตลาดจีนเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดกับตลาดโลก จีนเป็นคู่ค้าหลักของประเทศและภูมิภาคมากกว่า 140 ประเทศ และเป็นแหล่งการลงทุนหลักสำหรับประเทศต่างๆ จำนวนมาก

ที่ผ่านมา ชาติมหาอำนาจอย่างเช่นอเมริกา หรือชาติตะวันตก มักจะมองว่าการพัฒนาของคนอื่นจะเป็นภัยคุกคามตัวเอง และการพึ่งพาเศรษฐกิจซึ่งกันและกันจะเป็นภัยแห่งความเสี่ยง แต่จีนมองว่าการช่วยให้ผู้อื่นบรรลุเป้าหมาย จะช่วยเหลือเราด้วย เหมือนกับประธานาธิบดีสี จิ้นผิง เคยกล่าวในสุนทรพจน์ว่า "ถ้าคุณเป็นผู้ให้ ยื่นดอกกุหลาบให้กับผู้อื่น แต่ว่ากลิ่นหอมก็ยังคงติดตรึงอยู่ในมือของคุณเช่นกัน"

ใครชักใยสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ?

ท่านผู้ชมครับ วันนี้เป็นวันที่สิบสี่ของเหตุการณ์จู่โจมอิสราเอลของกองกำลังปาเลสไตน์ กลุ่มฮามาส ลุกลามกลายเป็นสงครามและกลายเป็นวิกฤตการณ์ในตะวันออกกลาง ผมจะอัปเดตสถานการณ์อย่างคร่าวๆ โดยผมเอาข้อมูลมาจากหลายแห่ง จากเฟซบุ๊กเพจ World Update ซึ่งผมจะแนะนำให้ทุกคนเข้าไปดู เพราะเป็นข้อมูลที่จะหาไม่ได้จากสื่อกระแสหลักทางตะวันตก


ตอนนี้กองกำลังผสม 3 ชาติ โผล่ปกป้องปาเลสไตน์ ตอนนี้คนที่สนับสนุนปาเลสไตน์มีการรวมตัวกัน ประกอบด้วย อิหร่าน เลบานอน และอิรัก

ประธานาธิบดีอิหร่าน ตลอดจนรัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน ยอมรับว่า สงครามระหว่างอิสราเอล-ฮามาส ทำให้การหาทางออกทางการเมืองมันใกล้หมดแล้ว และจะลุกลามไปสู่สงครามรบกับอิสราเอลทุกทิศทาง


ผู้นำกองทัพ กองกำลังผสมทั้งสามชาติจะไม่ยอมให้อิสราเอลทำอะไรก็ได้ตามอำเภอใจในเขตกาซา ถ้าไม่ปกป้องชาวปาเลสไตน์ในกาซาตอนนี้ พวกเขาก็มองว่าวันถัดไปเขาคงต้องคอยสกัดระเบิดฟอสฟอรัสขาวของอิสราเอลพุ่งใส่โรงพยาบาลเด็กในประเทศของเขาเอง ตอนนี้สงครามครั้งนี้จะไม่เหมือนอย่างสิ้นเชิงกับสงคราม 6 วัน เพราะบริบทเปลี่ยนไปมาก ตอนนี้เริ่มมีนักรบจากฮูติ นักรบฮูติจากเยเมน ตอลิบาน-อัฟกานิสถาน แม้กระทั่งปากีสถาน จะเดินมาสลับสับเปลี่ยนเสริมทัพรุมอิสราเอลไม่ให้มีเวลาพักหายใจได้อีกนาน

อิสราเอลต้องวัดโชคชะตาแลกกับทุกสิ่งของตน กับการส่งกองทัพบุกภาคพื้นดินเข้าแย่งชิงกาซา ปาเลสไตน์ ซึ่งด้วยเหตุนี้ หลังจากพิจารณาถึงสถานการณ์รอบด้านแล้วอิสราเอลสั่งชะลอการบุกเข้ากาซา ทั้งๆ ที่ตัวเองประกาศไว้ว่าภายใน 24 ชั่วโมง จะให้ชาวปาเลสไตน์ย้ายออกจากกาซาให้หมด ตัวเองจะบุก แต่ตอนนี้ตัวเองกลับไม่กล้าบุก


สถานการณ์ในสงครามพัฒนาไปเร็วมาก ผมแนะนำว่าแรงงานไทยไม่ควรเสี่ยงรอให้จรวดลงเพื่อขึ้นเครื่องบินอิสราเอล เพราะไม่รู้อนาคตว่าสนามบินจะใช้ได้นานแค่ไหน ท่ามกลางจรวดและโดรนที่ปลิวว่อน

ท่านผู้ชมครับ มาที่เวทีของซาอุดีอาระเบียบ้าง ในทางรบตอนเหนือ กองทัพรถถังจำนวนมากที่อิสราเอลเคลื่อนไปประจำการ ขู่เข็ญ ขู่ที่ชายแดน ไม่มีประโยชน์ที่จะเป็นเป้านิ่ง เพราะว่านักรบฮิซบอลเลาะห์ได้ใช้เป็นเป้านิ่งซ้อมยิงขีปนาวุธนำวิถีและระบบต่อต้านรถถัง อิสราเอลเลยจำเป็นต้องถอยกองทัพรถถังออกมา คาดว่าทางตอนเหนือของอิสราเอล จุดที่เชื่อมต่อกับเลบานอน จะเดือดขึ้นเรื่อยๆ สอดคล้องกับทางทิศใต้

อีกประเด็นที่น่าตกใจคือ หน่วยข่าวกรองมอสสาด (Mossad) ที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในโลก พยายามสร้างโฆษณาชวนเชื่อเผยแพร่งาน คลิประบบป้องกันภัยทางอากาศชนิดใหม่ ชื่อ Iron Beam ซึ่งมาแทน Iron Dome เนื่องจากลูกจรวด Iron Dome เริ่มร่อยหรอแม้สหรัฐฯ จะมาเติมให้ก็ตาม


มอสสาดบอกว่า Iron Beam นั้นใช้เลเซอร์ยิงขึ้นไปสกัดจรวดบนอากาศ แต่ปรากฏว่าโดนจับโป๊ะได้ว่าภาพที่เอามาออกอากาศนั้นเป็นภาพวิดีโอจากเกมออนไลน์ Animation เสมือนจริงที่วัยรุ่นเล่นกัน ส่วน Iron Beam นั้นถูกวางแผนจะใช้จริงอย่างเร็วในอีก 2 ปีข้างหน้า หรือ 2568 อเมริกาก็กลัวว่าอิหร่านและกองทัพอาหรับจะสนธิกำลังรุมกินโต๊ะอิสราเอล ก็เลยส่งทหารสองพันนายไปช่วยอิสราเอลทำสงครามกลุ่มฮามาส

นอกจากนี้ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอเมริกา ก็วิ่งพล่านเลย ในชาติอาหรับตะวันออก ขอการสนับสนุนอิสราเอล ให้อิสราเอลยึดดินแดนปาเลสไตน์ต่อไป ซึ่งผมไม่รู้ว่าสมองนายแอนโทนี บลิงเคน ทำด้วยอะไร คุณไปขอให้ชาวอาหรับเขาสนับสนุนอิสราเอลให้ยึดดินแดนของปาเลสไตน์ต่อไป คุณจะบ้าหรือเปล่า นี่คือสติปัญญาของคนบ้าสงครามและของคนที่คิดจะเอาแต่ได้


ผมจะเล่าเบื้องหลังให้ฟัง นี่ไม่ใช่ข่าวที่ผมมโน แต่เป็นข่าวของวอชิงตันโพสต์เอง ซึ่งเจ้าของวอชิงตันโพสต์ก็คือชาวยิวนั่นเอง ท่านผู้ชมรู้ใช่ไหมครับว่าเป็นใคร ? ก็คือเจ้าของ Amazon คือ Jeff Bezos เป็นเจ้าของ Amazon และเป็นเจ้าของวอชิงตันโพสต์ เป็นคนยิว

บลิงเคน ไปถึงเมืองริยาด เพื่อขอพบกับมกุฎราชกุมารโมฮัมเหม็ด บิน ซัลมาน แต่ท่านไม่ให้พบ เพราะว่าบลิงเคนนั้นตำแหน่งต่ำกว่าพระองค์ เลยปล่อยให้รอทั้งคืน รุ่งเช้า ตัวแทนสหรัฐฯ คือบลิงเคน พล่านบินต่อไปยังสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์เพื่อประชุมระดับรัฐมนตรีเพียงครู่เดียว จากนั้นบินวนเดินทางกลับมากรุงริยาดอีก ขออ้อนวอนเจ้าชายซาอุดีอาระเบีย คำตอบที่สหรัฐฯ ได้รับคือ จะไม่สนับสนุนอิสราเอล ผมถึงบอกว่าคนพวกนี้อย่าไปเห็นว่ามันเป็นฝรั่งนะ มันก็โง่นะ


ถ้าท่านผู้ชมเป็นเจ้าชายบิน ซัลมาน จู่ๆ อเมริกาซึ่งยืนข้างอิสราเอล แล้วอิสราเอลเป็นศัตรูกับอาหรับ มาขอร้องให้ท่านผู้ชมบอกว่าอนุญาต กรุณาเข้าข้างอิสราเอลเพื่อไปยึดพื้นที่อาหรับ ซึ่งบิน ซัลมาน ซาอุดีอาระเบียเป็นพี่ใหญ่คนหนึ่งในแวดวงกลุ่มอาหรับ มันเป็นไปได้อย่างไร ไอ้หมอนี่ แอนโทนี บลิงเคน มันคิดได้อย่างไร

ท่านผู้ชมที่เทิดทูนอเมริกาเป็นพ่อ ให้จำเอาไว้ นี่คือสติปัญญาของรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศที่พวกคุณเทิดทูนว่าเป็นพ่อคุณ

วอชิงตันโพสต์ไม่พอใจเป็นอย่างมากที่เจ้าชายซาอุดีอาระเบียไม่ให้เกียรติบลิงเคน ต้องให้รอนานขนาดนั้น ตอนนี้กองพันทหารราบติดอาวุธของอิหร่าน และ IRGC เคลื่อนทัพจากอิหร่านเข้าเมืองเดอีร์ เอซซอร์ ทางตะวันออกของซีเรียแล้ว มุ่งผ่านไปยังกรุงดามัสกัส ทะลุตรงไปยังที่ราบสูงโกลัน ชายแดนอิสราเอล ข่าวมีว่าอเมริกากำลังยุยงให้อิสราเอลเข้าไปยึดที่ราบสูงโกลันให้สมบูรณ์แบบ อิหร่านรู้ทันก็เลยส่งคนไป กองกำลังนี้เป็นกองกำลัง 3 ชาติ มีนักรบอิหร่าน นักรบอิรัก และนักรบฮิซบอลเลาะห์จากเลบานอน


ดูจากการจัดกำลังรบเคลื่อนที่แล้ว มีศักยภาพโจมตีชิงที่ราบสูงโกลันจากอิสราเอลได้ เพราะอิสราเอลกำลังติดพันศึกหลายด้านพร้อมกัน จะแบ่งกำลังคน/อาวุธไปยันทัพ ดูเหมือนว่าอิสราเอลกำลังยั่วยุโจมตีพลเรือนปาเลสไตน์ จนบรรดาชาติอาหรับฟิวส์ขาด ต้องทยอยส่งนักรบและอาวุธของตัวเองมารุมอิสราเอล


ล่าสุด (ข่าวนี้จะไม่ปรากฏอยู่ในสื่อกระแสหลักอย่างเช่น CNN, BBC) ตุรกีขวางอิสราเอล พร้อมงัดเรือรบยิงข่มสหรัฐฯ ตุรกีไม่ยอมอิสราเอล สหรัฐฯ ส่งกองเรือเข้ามา ตุรกีเอาเรือรบตัวเองยิงขู่ไปเรื่อยๆ

ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ก็อีกคนหนึ่ง อายุ 80 สติปัญญาไม่อยู่กับตัวแล้ว เพ้อเจ้อ โทรศัพท์ถึงนายอับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์ เพื่อข่มขู่ว่า ให้นายอับบาส สนับสนุนอิสราเอลอย่างไม่จำกัด ทั้งทางการทหารและความยิ่งใหญ่สำหรับการยึดครองแดนกาซาต่อไป ตลกมาก ท่านผู้ชมว่าตลกไหม ? อับบาสปฏิเสธ ไม่ยอมทำตาม


กองทัพเรือตุรกีไม่พอใจอย่างมากที่สหรัฐฯ สั่งให้กรีซ ซึ่งเป็นคู่อริ นำเรือรบมาป้วนเปี้ยนที่ทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตุรกีก็เลยเปิดศึกกับสหรัฐฯ ด้วยการประกาศจัดซ้อมรบทางเรือ รวมถึงการทดสอบยิงอาวุธจรวดในทะเลเมดิเตอร์เรเนียนตะวันออก เพื่อท้าทายอเมริกา ท้าทายกรีซ ซึ่งเป็นศัตรูของตุรกี และปรามอิสราเอล โดยในเขตทะเลเมดิเตอร์เรเนียนนั้น ตุรกีมีอำนาจทางเรือมานานแล้ว ตั้งแต่เป็นศูนย์กลางของสมัยจักรวรรดิออตโตมัน ในยุคหนึ่งปกครองดินแดนปาเลสไตน์ ปัจจุบันนี้ก็มีอำนาจเหนือไซปรัส ใกล้อิสราเอล ทำให้อิสราเอลไม่กล้ามีอะไรกับตุรกีมาตลอดหลายทศวรรษ

ท่านผู้ชมครับ ตอนนี้สงครามเริ่มเปลี่ยนทิศแล้ว จากอิสราเอลรบกับฮามาสอย่างเดียว กลายเป็นย้ายเป็นอิสราเอลกับฮามาส และอิสราเอลกับฮิซบอลเลาะห์ (เลบานอน)

อิสราเอลวิตกไม่ใช่ที่กาซา ทางทิศใต้ แต่เป็นทิศเหนือ เพราะกำลังจะเผชิญกับสงครามที่้ขยายตัวรุกรบกับกองทัพฮิซบอลเลาะห์ เลบานอน เพราะว่าฮิซเบาะเลาะห์นั้นไม่ได้มีอาวุธธรรมดา อาวุธร้ายแรงกว่าฮามาสอย่างมาก กำลังพลก็มีมากพอที่จะรบสุดขีด มิหนำซ้ำแล้วยังมีอาวุธที่ทันสมัยอีกเยอะแยะไปหมด

ท่านผู้ชมรู้ประวัติไหมครับ ? อิสราเอลเคยบุกเลบานอน แล้วพ่ายแพ้อย่างย่อยยับต่อกองทัพฮิซบอลเลาะห์จนแตกทัพหนีกลับบ้านครั้งแล้วครั้งเล่า ไม่เคยชนะเลยแม้แต่ครั้งเดียว ทำให้ทหารอิสราเอลยังกลัวกองทัพฮิซบอลเลาะห์อยู่ ไม่กล้าปะทะอย่างซึ่งหน้า


ล่าสุด กองทัพอิสราเอลถูกทัพฮิซบอลเลาะห์ระดมถล่มด้วยปืนใหญ่ จรวด ขีปนาวุธ โดรน จึงเกิดปะทะกันอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ใช่รูปแบบที่อิสราเอลถนัด ชอบขู่ว่าจะตอบโต้อย่างสาสมแล้วส่งทูตสหรัฐฯ ไปเจรจา กลายเป็นที่ตลกขบขันของบรรดาชาวอาหรับทั้งหลาย

อิสราเอลส่งตัวแทนกองกำลังสหประชาชาติในพื้นที่ชายแดนไปเจรจากับฮิซบอลเลาะห์ว่าอย่าบุกอิสราเอล ไร้ผล เพราะฮิซบอลเลาะห์ไม่สนใจ ยิงถล่มใส่อิสราเอลอยู่ตลอดเวลา แม้ทหารอิสราเอลอยู่ในรถถัง ยังถูกถล่มด้วยขีปนาวุธต่อต้านรถถังจากระยะไกล จนสูญเสีย ถึงต้องถอยขบวนกองทัพรถถังออกมา

เริ่มมีชาวอิสราเอลที่อาศัยอยู่ในเมืองตูลา แถวชายแดน เสียชีวิต/บาดเจ็บ จากการถูกยิงถล่มใส่อาคารบ้านเรือนแล้วหลายคน ยิ่งอิสราเอลตอบโต้กลับเท่าไร ยิ่งทำให้ฝ่ายฮิซบอลเลาะห์สวนกลับมามากอีกหลายเท่า

อิสราเอลสมัยก่อนเคยชินกับชาวปาเลสไตน์ที่อ่อนแอกว่า แต่พอเจอกองกำลังที่สูสีกันอย่างนักรบฮิซบอลเลาะห์ในเลบานอน ยันไม่ไหวเลยต้องแตกทัพ อิสราเอล ข่าวตะวันตกไม่ลงหรอก ประกาศอพยพชาวอิสราเอลในชุมชน 28 แห่ง ในรัศมี 2 กิโลเมตร จากชายแดน ท่ามกลางเสียงระเบิดที่โปรยลงมาตลอดเวลา นี่คือล่าสุดครับ

สงครามยิว-มุสลิมเปลี่ยนภูมิรัฐศาสตร์โลก


ในช่วงแรกที่กลุ่มฮามาสโจมตีอิสราเอลนั้น โลกกำลังช็อกกับการจู่โจมเข้ามาทำร้ายจับตัวประกันในอิสราเอลของกลุ่มฮามาส ท่านผู้ชมเชื่อหรือเปล่าว่า ผ่านไปแค่สองอาทิตย์เอง ประชาชนหลายชาติในโลกกลับดึงสติกลับมา ลุกฮือประท้วงอิสราเอล พร้อมทั้งหนุนปาเลสไตน์ เพราะปฏิบัติการตอบโต้อันโหดเหี้ยมอำมหิตของอิสราเอล ทำให้ประชาชนและชาวบ้านผู้บริสุทธิ์ในฉนวนกาซาเสียชีวิตเป็นแล้วหลายพันคน และที่เลวทรามบัดซบที่สุดคือการทิ้งระเบิดโจมตีโรงพยาบาลอัล-อาห์ลี อัล-อาราบี ในวันอังคารที่ 17 ที่ผ่านมา กองทัพอิสราเอลได้ดำเนินการโจมตีทางอากาศ ทิ้งระเบิดลงไปในโรงพยาบาลโรงพยาบาลอัล-อาห์ลี อัล-อราบี ในกาซา ทำให้คนเสียชีวิตไปประมาณ 500 คน หมอ พยาบาล คนไข้ เด็ก ผู้หญิง ตายหมด 500 คน ในสงครามเขาไม่เคยทำร้ายโรงพยาบาลกัน นี่เหมือนกับมันเจาะจงทำ ฆ่าคนผู้บริสุทธิ์ เรียกได้ว่าเป็นการสังหารหมู่ที่โหดเหี้ยมที่สุด


โดยหลักมนุษยธรรมแล้ว การโจมตีสถานพยาบาลในสงครามถือว่าเป็นเรื่องต้องห้าม แน่นอนที่สุด อิสราเอลอ้างว่าไม่ได้ทำ โบ้ยไปว่าเป็นระเบิดของฝ่ายปาเลสไตน์ มิหนำซ้ำแล้ว นายโจ ไบเดน ยังทะลึ่งมาอ้างว่าข่าวกรองของสหรัฐฯ ระบุว่าเป็นจรวดของปาเลสไตน์ ท่านผู้ชมครับ ข่าวกรองบ้า ของชาติไหน มันก็ออกข่าวเพื่อสนับสนุนชาตินั้น เดี๋ยวผมจะเอาให้ดูว่าทำไมผมถึงกล้าฟันธงว่านี่คือระเบิดของอิสราเอล โดยที่อเมริกาอยู่เบื้องหลัง

ข่าวเกี่ยวกับการโจมตีโรงพยาบาล และตัวเลขผู้เสียชีวิตจำนวนมาก โหมกระพือ เสียงประณามมากมายหลายประเทศ แม้กระทั่งเลขาธิการสหประชาชาติ ก็ยังบอกว่า เขาตกตะลึงมากกับการเสียชีวิตของผู้คนหลายร้อยคนจากการโจมตีโรงพยาบาล ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกก็ออกมาโจมตีประเทศอิสราเอลว่าทำงานอย่างโหดเหี้ยมอำมหิต สำนักงานกาชาดสากลระหว่างประเทศบอกว่ารู้สึกช็อก ขนลุก ไปกับรายงานการระเบิดครั้งใหญ่ สำนักงานกาชาดระหว่างประเทศบอกว่าโรงพยาบาลควรเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ที่หลบภัยเพื่อรักษาชีวิตมนุษย์ ไม่ใช่สถานที่เสียชีวิตและเกิดการทำลายล้าง ผู้ป่วยไม่ควรถูกสังหารบนเตียงในโรงพยาบาล และแพทย์-พยาบาลไม่ควรเสียชีวิตขณะพยายามที่จะช่วยชีวิตคนอื่น


โลกทั้งโลกประณามอิสราเอล โดยเฉพาะอย่างยิ่งโลกอาหรับ อียิปต์ออกมาประณามการโจมตีอย่างชัดเจน กระทรวงการต่างประเทศอิหร่าน กล่าวว่า เหตุระเบิดดังกล่าวเป็นผลจากการโจมตีทางอากาศของอิสราเอล ซึ่งทำให้ผู้ไม่มีอาวุธและไม่มีที่พึ่งเสียชีวิตและได้รับบาดเจ็บ ซีเรีย บาชาร์ อัล-อัสซาด เรียกสิ่งที่เกิดขึ้นว่าเป็นการสังหารหมู่ที่โหดร้าย นองเลือดที่สุดต่อมนุษยชาติ ซาอุดีอาระเบีย ระบุว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นอาชญากรรมอันชั่วร้าย และกษัตริย์จอร์แดน กล่าวว่า นี่คืออาชญากรรมทางสงคราม

ได้มีการเรียกร้องให้มีการประชุมฉุกเฉินคณะมนตรีความมั่นคงสหรัฐฯ ในนิวยอร์ก แต่ท่านผู้ชมรู้ไหมว่า เขาบอกให้หยุดยิงทันทีเลย แล้วให้ถอยออกมา จีน-รัสเซียเห็นด้วย แต่ใครไม่เห็นด้วย ? ท่านผู้ชมคงเดาถูก เจ้าเก่า อเมริกา ฝรั่งเศส และกลุ่มประเทศยุโรปที่อยู่ในคณะมนตรีความมั่นคง

มีการประท้วงสถานทูตอิสราเอลในตุรกี ในจอร์แดน ประท้วงใกล้สถานทูตสหรัฐฯ ในเลบานอน กลุ่มฮิซบอลเลาะห์ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากอิหร่านในเลบานอนประณามการโจมตีว่าเป็นวันแห่งการโกรธแค้นที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน


ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ที่สนับสนุนอิสราเอลอย่างสุดลิ่มทิ่มประตู ยังกล่าวว่ารู้สึกตกตะลึงและเสียใจ แต่ตัวเองก็ออกมาโกหกคำโตๆ เพื่อช่วยอิสราเอล ว่า ข่าวกรองของอเมริกา คือ CIA หรือสภาความมั่นคง ชี้แจงว่าอาหรับ หรือปาเลสไตน์ หรือพวกฮามาส เป็นคนที่ยิงจรวดเข้ามา

รัฐมนตรีต่างประเทศจอร์แดนประกาศยกเลิกการประชุมสุดยอดกับไบเดน ตลอดจนผู้นำอียิปต์ มาห์มูด อับบาส ผู้นำปาเลสไตน์ ก็ประกาศยกเลิก

ท่านผู้ชมครับ ทำไมผมถึงพูดว่านี่คือฝีมือของอเมริกา-อิสราเอล ระเบิดที่ตกลงไปในโรงพยาบาลนั้น เป็นระเบิดที่เขาเรียกว่ารุ่น MK-84 กองทัพอิสราเอลได้มาจากใคร ? เจ้าเก่า อเมริกา ข้อมูลดังกล่าวได้รับการวิเคราะห์ ยืนยันจากหลายฝ่ายว่า วิเคราะห์จากแรงระเบิดและเสียงระเบิดที่ได้ยินจากคลิปเหตุการณ์ ความเสียหายที่กระทบต่อพื้นที่โดยรอบ จรวดดังกล่าวน่าจะมีขนาดประมาณ 300-600 ปอนด์ ไม่น่าจะมีน้ำหนักถึง 700 ปอนด์ เพราะถ้าหนักมากเกินไปจะเกิด Shock wave สร้างความเดือดร้อนให้กับอาคารได้มากกว่านี้


ผู้เชี่ยวชาญทางด้านระเบิด ซึ่งอดีตก็เป็นทหารในหน่วยนาวิกโยธิน ผู้ชำนาญในเรื่องระเบิด ฟันธงไปว่า ระเบิดดังกล่าวไม่น่าจะเป็นระเบิดนำวิถี หรือ The Joint Direct Attack Munition รุ่น MK-84 หรือ Smart Bomb ที่อเมริกาเคยขายให้อิสราเอลมาก่อน และกลุ่มอิสลามิกญิฮาด หรือฮามาส ไม่มีปัญญาจะครอบครองอาวุธไฮเทคเช่นนี้ไปได้

ข่าวเรื่องระเบิดโรงพยาบาลทำให้อิสราเอลและผู้นำสหรัฐฯ ไล่โต้แย้ง และปิดผู้นำเสนอเรื่องนี้อย่างเร่งด่วน แทรกแซงให้สื่อตะวันตกในเครือข่าย รวมทั้งผู้เชี่ยวชาญด้านอาวุธ ออกมาโต้ว่า ระเบิดนี้ไม่ใช่ระเบิด MK-84 ที่สหรัฐฯ ผลิต และอิสราเอลครอบครองอยู่


ยุคนี้ไม่เหมือนยุคสงคราม 6 วัน และไม่เหมือนการทำสงครามของอเมริกาสมัยก่อน เพราะยุคนี้เป็นยุคโซเชียลมีเดีย มีการเผยแพร่ข้อมูลทั้งสองฝ่าย ถึงแม้ว่าตะวันตกจะพยายามควบคุม ล่าสุด ท่านผู้ชมรู้ไหมว่าอียูขู่ปรับเงินเฟซบุ๊กถ้าไม่ลบเนื้อหาสนับสนุนฮามาส โดยอ้างว่าผิดกฎหมาย พระราชบัญญัติบริการดิจิทัลฉบับใหม่ของสหภาพยุโรป

ท่านผู้ชมครับ มาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เจ้าของเฟซบุ๊ก ก็ออกมาประณามกลุ่มฮามาส ก็ไม่น่าประหลาดใจครับ เพราะมาร์ค ซักเคอร์เบิร์ก เองก็เป็นคนอเมริกันเชื้อสายยิว นอกจากนั้นแล้ว ยังมีการพยายามจะบล็อกทวิตเตอร์ (ซึ่งเปลี่ยนชื่อเป็น 'X') ไม่ให้รายงานข่าวเรื่องฮามาส หรือเรื่องการระเบิดโรงพยาบาล


กระแสต้านอิสราเอลลามไปทั่วโลก ศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2566 ชาวมุสลิมหลายหมื่นคนกระจายตัวชุมนุมตามเมืองหลวงของจอร์แดน เยเมน เลบานอน อิรัก อิหร่าน ปากีสถาน หลังจากเสร็จการละหมาดวันศุกร์ แสดงออกถึงความไม่พอใจการโจมตีฉนวนกาซาของอิสราเอล และการทิ้งระเบิดโรงพยาบาลที่ได้เล่าให้ฟังไปแล้วเมื่อกี้นี้


ประเทศโคลอมเบีย ประธานาธิบดีกุสตาโบ เปโตร ผู้นำโคลอมเบีย ได้โพสต์ความคิดเห็นมากมายบทแพลตฟอร์ม X เกี่ยวกับสงครามอิสราเอล-ฮามาส เขาเปรียบเทียบการตอบโต้ของอิสราเอลที่มุ่งเป้าไปที่ฉนวนกาซาว่ามันไม่ได้ต่างกว่าการกดขี่ข่มเหงของพวกนาซีสมัยฮิตเลอร์ที่ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิว ก็คือว่า สิ่งที่ชาวยิวเจอมาจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของนาซีนั้น วันนี้ยิวทำตัวเป็นนาซีเองในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หนึ่งในข้อความเป็นข้อความที่ด่านายโยอาฟ กัลแลนด์ รัฐมนตรีกลาโหมอิสราเอล ว่า คำพูดที่เขาใช้กล่าวถึงคนในแถบฉนวนกาซามันช่างคล้ายคลึงกับพูดที่นาซีพูดถึงชาวยิว


นอกจากนั้น ผู้นำโคลอมเบียยังยืนกรานว่า ประชาชนที่เป็นประชาธิปไตยต้องไม่ปล่อยลัทธินาซีสถาปนาตนเองขึ้นมาใหม่ในระดับการเมืองระหว่างประเทศ และเสร็จเรียบร้อยแล้ว ท่านประธานาธิบดีโคลอมเบียใจถึงมาก พร้อมที่จะระงับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับอิสราเอลหากมีความจำเป็น ถึงกับไล่ทูตอิสราเอลประจำโคลอมเบียให้ออกจากประเทศ แล้วเรียกตัวนางมาร์การิตา มันจาร์เรซ ทูตโคลอมเบียประจำอิสราเอล กลับโคลอมเบีย


นางอีโอเน เบลราลา รัฐมนตรีกระทรวงกิจการสังคมของสเปน แนะนำให้รัฐบาลสเปนนำตัวนายเบนจามิน เนทันยาฮู นายกรัฐมนตรีอิสราเอล ขึ้นศาลอาญาระหว่างประเทศ ข้อหาก่ออาชญากรรมสงคราม นอกจากนั้นเธอยังโพสต์ผ่านโซเชียล X หรือทวิตเตอร์ หลังจากเข้าร่วมเดินขบวนที่มาดริดว่าความสง่างามได้เต็มท้องถนนในกรุงมาดริดวันนี้เพื่อกระตุ้นการหยุดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่อิสราเอลกำลังวางแผนต่อชาวปาเลสไตน์ในฉนวนกาซา

เสาร์ที่ 14 ตุลาคม ประชาชนหลายหมื่นคนเดินขบวนในลอนดอน ตามเมืองต่างๆ เพื่อแสดงพลังสนับสนุนปาเลสไตน์ที่กำลังอยู่ภายใต้การโจมตีของอิสราเอล เป็นสัญญาว่าเริ่มมีคนยุโรปมากขึ้นเรื่อยๆ ที่ไม่เห็นด้วยกับการกระทำของอิสราเอล


นอกจากนั้นแล้ว ยังมีที่เมืองแมนเชสเตอร์ ทางเหนือของอังกฤษ เอดินเบอระ และกลาสโกว์ ของสกอตต์แลนด์ และตามเมืองอื่นๆ ของสหราชอาณาจักร

จากภาพวิดีโอที่เผยแพร่ในโซเชียลมีเดียเผยให้เห็นว่ากลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์บางส่วนติดรูปเครื่องร่อนไว้ที่หลังตัวเอง อันเป็นหนึ่งในสัญลักษณ์ที่สื่อถึงกลุ่มฮามาสได้ใช้เครื่องร่อนบุกเข้าไปก่อเหตุโจมตีอิสราเอลเมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม ที่ผ่านมา พร้อมตะโกนด่ารัฐบาลอังกฤษและชาติอื่นๆ ในยุโรปว่าเป็นผู้ก่อการร้าย เช่นเดียวกับอิสราเอล ในขณะที่พวกเขาเดินขบวนประท้วงในกรุงลอนดอน


ท่านผู้ชมครับ นายกรัฐมนตรีอังกฤษ นายริชี ซูแน็ก เน้นว่าจุดยืนในการให้การสนับสนุนอิสราเอลของเขายังคงไม่เปลี่ยนแปลง โดยบอกว่า สหราชอาณาจักรจะยืนหยัดเคียงข้างอิสราเอล ไม่ใช่วันนี้หรือพรุ่งนี้ แต่ตลอดไป นอกจากนั้นแล้ว ในเดนมาร์กก็ยังมีคนเข้ามาร่วมประท้วง ประท้วงที่ทางด้านตะวันตกของกรุงโคเปนเฮเกน

ผลสำรวจสถาบัน Voxmeter ของเดนมาร์ก เผยแพร่ว่า 20 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถาม เชื่อว่าปาเลสไตน์มีสิทธิใช้การโจมตีแบบเดียวกับที่ลงมือเมื่อสุดสัปดาห์ที่แล้ว เพื่อปกป้องตัวเอง สวิตซอร์แลนด์ ประชาชน 6,000 คน เข้าร่วมในการเดินขบวนสนับสนุนปาเลสไตน์ ในเมืองเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์

ผู้ชุมนุมบางส่วนในเมืองกลาสโกว์ ประเทศสกอตต์แลนด์ ชูเหตุการณ์ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวในสงครามโลกครั้งที่ 2 มาโจมตีชาวอิสราเอล และกลุ่มลัทธิไซออนิสต์ที่สนับสนุนอิสราเอลรุกรานปาเลสไตน์

เยอรมนีมีการรวมตัวของกลุ่มผู้สนับสนุนปาเลสไตน์ที่จัตุรัสกรุงเบอร์ลิน อเมริกาในหลายเมือง รวมทั้งนิวยอร์ก หลายประเทศ เช่นซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย และฝรั่งเศส ออกมาชุมนุมประท้วงเพื่อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีเบนจามิน เนทันยาฮู หยุดโจมตีฉนวนกาซา


นอกจากนั้นแล้ว ยังมีประชาชนอีกร้อยกว่าคนบุกเข้าไปในรัฐสภาอเมริกา เข้าไปในสภาคองเกรสของอเมริกา เพื่อประท้วงนโยบายของอเมริกาที่สนับสนุนชาวอิสราเอลและชาวยิว

ท่านผู้ชมเห็นไหมว่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในโลกนี้ สองสัปดาห์เท่านั้นเอง หลังจากที่ฮามาสบุกเข้าไปโจมตีอิสราเอล และการทิ้งระเบิดฆ่าคน ฆ่าเด็ก ฆ่าพยาบาล ฆ่าคนไข้ 500 คน ที่โรงพยาบาลที่กาซา นั่นเป็นจุดโป๊ะแตกที่ทำให้ภาพของอิสราเอลกลายเป็นอาชญากรสงคราม และกลายเป็นผู้ที่มีความโหดเหี้่ยมอำมหิตอย่างสุดๆ

ท่านผู้ชมครับ อาทิตย์ที่แล้วที่เราออกอากาศไปเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม หัวข้อหลักคือเรื่องสงครามอิสราเอลและปาเลสไตน์ ได้รับความสนใจจากท่านผู้ชมเป็นอย่างมาก ออกอากาศไป 5 วัน เมื่อพิจารณาจากสถิติของจำนวนผู้เข้าชมจนถึงช่วงวันพุธที่ 18 ตุลาคม ที่ผ่านมา มีท่านผู้ชมเข้ามาชมย้อนหลัง ทั้งออกอากาศสดและคลิปเต็มรวมกันแพลตฟอร์ม Facebook, YouTube, TikTok และ Sondhi App มีมากกว่า 2 ล้านคน ไม่นับรวมคลิปย่อยที่ทางทีมงานได้นำรายการมาตัดเป็นคลิปสั้นๆ แยกเป็นประเด็นต่างๆ จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันในวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม ผ่านมาถึงวันนี้ เกือบสองสัปดาห์แล้ว สื่อมวลชนไทยมักจะชอบเสนอรายการแบบเรียลไทม์ คนก็ให้ความสนใจน้อยลงเรื่อยๆ เพราะประเด็นที่ผมเห็นว่าสื่อมวลชนไทยยังเกาะติดอยู่ตลอดเวลา คือ หนึ่ง ประเด็นความคืบหน้าในการช่วยเหลือคนไทย/แรงงาน รวมทั้งครอบครัวผู้เสียชีวิต ได้รับบาดเจ็บ ถูกจับเป็นตัวประกัน การอพยพคนไทยในอิสราเอลกลับประเทศไทย


สอง ประเด็นการรายงานข่าวสงครามแบบเรียลไทม์ คืออิสราเอลบุกปาเลสไตน์หรือยัง วางกำลังกันไว้ที่ไหนบ้าง มีระเบิดขีปนาวุธยิงไปที่ไหนบ้าง การส่งกำลังทหาร ยุทโธปกรณ์ของอเมริกาไปช่วยอิสราเอลบุกฮามาสมีอะไรบ้าง ประเด็นข่าวแวดล้อมเกี่ยวกับการเจรจาทางการทูต การตอบโต้ของทั้งสองฝ่ายและชาติต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง

อย่างไรก็ตาม สำหรับผมแล้ว สิ่งที่ผมเห็นว่าเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง ที่ผมและรายการ "คุยทุกเรื่องกับสนธิ" ต้องนำมาพูดถึง เพราะไม่มีใครพูดถึงเลยแม้แต่นิดเดียว คือการเปลี่ยนแปลงภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เกิดขึ้นจากสงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์ ทั้งนี้ เพราะแน่นอนอยู่แล้วว่าสงครามครั้งนี้ไม่ได้ถูกจำกัดวง หรือส่งผลกระทบอยู่เฉพาะในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่ก่อให้เกิดผลกระทบไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็นมิติด้านเศรษฐกิจ เรื่องราคาพลังงาน ราคาน้ำมัน ราคาสินค้า เกษตร ทองคำ หุ้น มิติทางด้านการเมืองในประเทศและระหว่างประเทศ ทั้งในประเทศ และภูมิภาคต่างๆ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ตัวอย่างหนึ่ง คือสงครามระหว่างอิสราเอล-ปาเลสไตน์ที่ปะทุ แทบจะทำให้สงครามยูเครนนั้นเรียกได้ว่าถึงจุดจบไปโดยปริยาย เพราะอเมริกาผู้ซึ่งอยู่เบื้องหลังของทั้งสองสงครามนี้ ยูเครน และอิสราเอล ไม่พร้อมที่จะสนับสนุนในการทำสงครามทั้งสองภูมิภาคพร้อมกัน ถึงแม้ว่านายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯ นายแอนโทนี บลิงเคน รัฐมนตรีต่างประเทศ หรือ พล.อ.ลอยด์ ออสติน รัฐมนตรีกลาโหม หรือแม้กระทั่งนางเจเน็ต เยลเลน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสหรัฐฯ ยังออกมายืนกรานว่าอเมริกาพร้อมจะสนับสนุนทั้งสองประเทศในการสู้สงครามพร้อมๆ กันก็ตาม


แต่ในความเป็นจริง ทุกคนต่างรู้ว่าอเมริกาไม่พร้อม ไม่ว่าจะเป็นด้านความแข็งแกร่งของกองทัพ ด้านการเมืองในประเทศ ด้านงบประมาณ เงินสนับสนุน ไม่นับกับเสียงคัดค้านของประชาชนชาวสหรัฐฯ ที่นับวันเสียงการต่อต้านสงครามในยูเครนจะดังขึ้นทุกทีๆ เรื่องดังกล่าวก็หลุดมาจากปากของนายจอห์น เคอร์บี โฆษกทำเนียบขาว เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ว่า ถึงแม้ว่าอเมริกาจะมีเจ้าหน้าที่ที่รับมือกับทั้งสองเรื่อง แต่การสนับสนุนด้านการเงินต่อยูเครนอาจจะต้องถึงจุดที่ไปต่อไม่ได้แล้ว

นายจอห์น เคอร์บี พูดชัดเจนว่า สำหรับการสนับสนุนทางการเงินแก่ยูเครนนั้น เรามาใกล้สุดทางแล้ว ผมหมายความว่า วันนี้เราประกาศเงินช่วยเหลือสองร้อยล้านดอลลาร์ และเราจะช่วยนานที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ แต่คงไม่ใช่ว่าจะไม่มีที่สิ้นสุด


คำพูดดังกล่าวชี้ให้เห็นชัดว่า อเมริกาเตรียมตัวจะถอนความช่วยเหลือออกจากยูเครน พูดภาษาชาวบ้านคือ เตรียมเทยูเครนทิ้ง หลังสงครามรัสเซีย-ยูเครนปะทุขึ้นมาได้ประมาณ 600 วัน หรือตั้งแต่วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2564

ล่าสุด อิสราเอลถอนทหาร 2,000 นาย จากยูเครน กลับไปช่วยรบที่บ้านตัวเอง นอกจากอเมริกาจะแบะท่าแล้วว่าอาจจะยุติการส่งเงินสนับสนุนยูเครนในการทำสงครามกับรัสเซียในเวลาอันใกล้นี้ มีข่าวเชิงลึกที่สื่อตะวันตกไม่ค่อยรายงานกัน นั่นคือข้อมูลที่ระบุว่า วิกฤตสงครามในตะวันออกกลางส่งผลให้อิสราเอลส่งที่ปรึกษาและครูฝึกทหารไปช่วยรบในยูเครนนั้น เรียกกำลังพลของตัวเองกลับมาจากยูเครนโดยด่วน คิดเป็นจำนวนมากถึง 2,000 นาย


อย่างที่ผมบอกไปแล้ว สถานการณ์สงครามอิสราเอล-ปาเลสไตน์กับกลุ่มฮามาสนั้น ไม่ใช่สงครามจะเริ่มเร็ว จบเร็ว เหมือนกับเหตุการณ์สงคราม 6 วัน ในปี 2510 ซึ่งอิสราเอลประสบชัยชนะอย่างรวดเร็ว แต่สงครามครั้งนี้จะเป็นสงครามยาวนาน และจะสร้างแรงสั่นสะเทือนไปทั่วโลก พลิกโฉมภูมิรัฐศาสตร์โลกไปอีกรูปแบบหนึ่ง

ท่านผู้ชมรู้ไหมว่าผมกำลังวิเคราะห์สิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น โดยทุกๆ เรื่องผมใส่ทุกมิติเข้ามาในความคิดผม ผมขออนุญาตอนุมานอย่างนี้ครับ ข้อที่หนึ่ง ผมคิดว่าอเมริกาต้องการให้เกิดสงครามในตะวันออกกลาง โดยใช้อิสราเอลเป็นหัวหอกในการป่วนตะวันออกกลางให้หมด การโจมตีของกลุ่มฮามาสเป็นสิ่งที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน แต่มันเป็นไปได้ไหมว่าหน่วยข่าวกรองสหรัฐฯ รู้ล่วงหน้าอยู่แล้ว ส่วนอิสราเอลนั้นไม่น่าคาดคิดได้ หรืออาจจะรู้ แต่ตกลงใจและเต็มใจยอมให้ตัวเองเสียหาย แล้วใช้เหตุข้ออ้างในการตอบโต้อย่างรุนแรง และพยายามขยายความขัดแย้งออกไปทั้งหมด ทั้งภูมิภาคตะวันออกกลาง โดยเป้าหมายต้องการจะล้มล้างอิหร่าน ซึ่งเป็นก้างขวางคอ


ข้อที่สอง ท่านผู้ชมคิดเหมือนผมไหม ข้อน่าสังเกตที่สุดคือ หน่วยสืบราชการลับมอสสาด ซึ่-งถูกยอมรับกันทั่วโลกว่าเก่งที่สุด ไม่น่าที่จะไม่รู้เรื่องการบุกโจมตีของฮามาส ซึ่งคำถามนี้ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกสงสัยว่า มอสสาดพลาดได้อย่างไร ? ถ้าเป็นในความคิดผมคือ มอสสาด คือส่วนหนึ่งของการปล่อยให้กลุ่มฮามาสปฏิบัติการข้ามแดนมา

ข้อที่สาม การส่งเรือบรรทุกเครื่องบินสองลำ คือ ยูเอสเอส ไอเซนฮาวร์ กับ ยูเอสเอส เจอรัลด์ ฟอร์ด ซึ่งทั้งสองลำมีเครื่องบินขับไล่เกือบ 80 ลำ เข้ามาในระยะทางที่สามารถจะใช้เวลาบินไม่เกิน 20 นาที ก็บินถึงตะวันออกกลางได้ บางนักวิเคราะห์บอกว่าเอามาเพื่อคุมไม่ให้อิหร่านขยับ หรือป้องกันไม่ให้รัสเซีย ซึ่งมีฐานทัพอากาศอยู่ที่อิรัก เข้ามาช่วย


สี่ การทิ้งระเบิดที่โรงพยาบาลในฉนวนกาซา ทำให้เด็ก คนไข้ หมอ พยาบาล เสียชีวิตถึง 500 คน วันนี้พิสูจน์ได้จากหลักฐานว่าระเบิดที่ทิ้งไปนั้น เป็นระเบิดชนิด MK-84 เป็นระเบิดที่อิสราเอลได้จากสหรัฐฯ เป็นที่น่าประหลาดใจว่า ประธานาธิบดีโจ ไบเดน ทุ่มเทตัวเองมากในการไปตะวันออกกลาง ใช้เวลามากที่สุดกับนายกรัฐมนตรีอิสราเอล คือนายเบนจามิน เนทันยาฮู คนอาจจะมองว่าไปให้กำลังใจกัน และยืนยันว่าอเมริกาจะยืนข้างอิสราเอล

แต่ท่านผู้ชม มันเป็นไปได้หรือเปล่าว่าทั้งสองผู้นำมีข้อตกลงลับๆ เพื่อให้ขยายความขัดแย้งออกไป เชื่อได้ว่าอเมริกามีความมั่นใจและเชื่อในกองกำลังของอิสราเอล ความแข็งแกร่งของกองทัพอิสราเอล แต่การที่มีเรือบรรทุกเครื่องบินประกบอยู่ใกล้ๆ จุดสงครามนั้น มันแปลได้ว่าอะไร นอกจากจะไม่ให้มหาอำนาจของรัสเซียเข้ามายุ่มย่าม แต่ก็เป็นการป้องกันภัยไว้ก่อนในกรณีที่อิสราเอลเพลี่ยงพล้ำจากการต่อสู้ ซึ่งหลักๆ ถ้าจะเพลี่ยงพล้ำก็เพลี่ยงพล้ำเพราะอิหร่าน ถ้าอิหร่านเข้าร่วมวงด้วย อเมริกาจะได้ถือโอกาสจัดการกับอิหร่าน ซึ่งเป็นก้างขวางคอ บทบาทของอเมริกาในตะวันออกกลางมาตลอดเป็นเวลาหลายสิบปีที่ผ่านมา

ข้อห้า ถ้าเรามาดูหลายๆ มิติในภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว มาจนถึงปลายปีนี้ เกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา ได้เกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมหาศาล ซึ่งกระทบกับอำนาจและอิทธิพลของอเมริกา ทำให้โลกทั้งโลกเห็นได้ชัดว่าอเมริกากำลังเสื่อมและถดถอย

ข้อหก อเมริกาชอบก่อสงครามเพื่อให้ทุกอย่างวุ่นวาย เหตุการณ์ต่างๆ ในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นการบุกอิรัก การไปยึดอัฟกานิสถาน การสร้างความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ การหนุนหลังไต้หวันเพื่อให้เป็นอุปสรรคในการรวมประเทศของจีน การใช้นาโตเป็นหัวหอกในการรุกรานรัสเซีย

ข้อที่เจ็ด ประจวบกับพื้นฐานความเข้มแข็งของเงินดอลลาร์ที่มีรากฐานมาจากระบบเปโตรดอลลาร์ คือการบังคับให้ซาอุดีอาระเบียและประเทศในตะวันออกกลางต้องขายน้ำมันโดยใช้เงินดอลลาร์เป็นเงินในการซื้อขาย ซึ่งอิทธิพลของเปโตรดอลลาร์วันนี้แทบจะไม่เหลือแล้ว โดยที่มีซาอุดีอาระเบียเป็นหัวหอกในการทำลายอิทธิพลของเปโตรดอลลาร์


ข้อแปด อันนี้ก็สำคัญมาก โจ ไบเดน กำลังจะก้าวสู่การเลือกตั้งในปีหน้า การสร้างเรื่องเกิดสงครามนั้นอาจจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะเพิ่มคะแนนเสียงให้โจ ไบเดน ได้ หลังจากที่ผลโพลโจ ไบเดน ตกอยู่ที่ 26 เปอร์เซ็นต์ ในแง่คะแนนนิยมของคนอเมริกา ซึ่งเป็นเปอร์เซ็นต์ที่ตกต่ำที่สุดของประวัติศาสตร์ประธานาธิบดีของอเมริกาตั้งแต่เคยมีประธานาธิบดีมา

ข้อเก้า การก่อชนวนสงครามแล้วอ้างว่าเพื่อต่อสู้กับผู้ก่อการร้าย ตลอดจนเข้าไปร่วมทำสงครามกับอิสราเอลเพื่อจัดการอิหร่าน ซึ่งเป็นประเทศที่รัฐบาลอเมริกาทุกยุคทุกสมัย รวมทั้งหน่วยข่าวกรองของสหรัฐฯ อิสราเอล ตลอดจนสื่อมวลชนกระแสหลักของทางตะวันตก ออกข่าวปั่นหัวคนอเมริกาให้จงเกลียดจงชังคงอิหร่าน ซึ่งไม่ได้ต่างกว่าการลงข่าวเท็จเลย และปั่นหัวคนอเมริกาและคนทั่วโลกให้จงเกลียดจงชังเกาหลีเหนือเช่นกัน

ท่านผู้ชมครับ ในภูมิรัฐศาสตร์ที่เกิดขึ้นในรอบ 18 เดือนที่ผ่านมา ท่านผู้ชมเห็นด้วยกับผมไหมว่าอเมริกาพ่ายแพ้ทุกสมรภูมิ ไม่ว่าจะเป็นสงครามยูเครน กับ รัสเซีย ที่ภาพออกมาว่าเป็นนาโตกับรัสเซียนั้น ในข้อเท็จจริงก็คืออเมริกานั่นเองที่ใช้นาโตและตัวเองผลักดันอยู่ข้างหลังให้หาทางทำลายรัสเซีย

ส่วนภูมิรัฐศาสตร์ทางด้านสงครามทางด้านอเมริกาใต้ วันนี้อเมริกาพ่ายแพ้อย่างยับเยิน ทวีปแอฟริกาเกือบจะทั้งทวีปตกเป็นของรัสเซีย และจีน ทวีปเอเชีย อเมริกามีแค่อินเดียเท่านั้นที่อาจจะพึ่งพาได้ แต่อินเดียก็เป็นประเทศที่เอาแต่ประโยชน์เข้าหาตัวเอง ในเอเชีย อเมริกาจะเหลือเกาหลีใต้ กับญี่ปุ่น ซึ่งก็ทำอะไรไม่ได้ เพราะว่ามีพลานุภาพทางการทหารของเกาหลีเหนือสะกดเอาไว้

เมื่อเราดูภาพรวมทั้งหมดแล้ว มันเหลือแค่ตะวันออกกลางที่แนวโน้มการรบจะถูกขยายตัวออกไป นั่นคือคำตอบว่าทำไมถึงต้องมีเรือบรรทุกเครื่องบินถึง 2 ลำ เข้ามาจอด เพราะถ้าเกิดการรบขึ้นมา อเมริกาเชื่อมั่นว่าโดยศักยภาพของอเมริกา และอิสราเอล จะไม่เพลี่ยงพล้ำ จะได้ถือโอกาสสั่งสอนซาอุดีอาระเบียไปด้วย อย่าลืมนะครับท่านผู้ชม ก่อนที่จะเกิดสงครามฮามาส กับอิสราเอล อเมริกาลังเป็นโต้โผในการจัดการประชุมเจรจาระหว่างซาอุดีอาระเบีย-อิสราเอลเข้ามาพูดคุยกัน และตกลงกันในเรื่องสันติภาพ แต่อเมริกาก็มีเงื่อนไขเพิ่มเติมว่า ถ้าฉันทำอย่างนี้ให้เธอ เธอต้องกลับมาอยู่ในอ้อมอกของฉันนะ และต้องกลับมาใช้เปโตรดอลลาร์เหมือนเดิม

ท่านผู้ชมครับ ทั้งหมดนี้อาจจะพอให้คำตอบได้ และอนุมานได้มากพอสมควรว่า อเมริกาต้องการให้เกิดสงครามในตะวันออกกลาง เพื่อฟื้นฟูสภาพของตัวเองในด้านภูมิรัฐศาสตร์ และเพื่อทำให้โจ ไบเดน ได้รับการเลือกตั้งกลับมาอีกครั้งในการเลือกตั้งปลายปี 2567 รวมทั้งถือโอกาสทำลายประเทศอิหร่านลงไปเลย ซึ่งเป็นก้างขวางคอของเขา ไม่รู้ว่าท่านผู้ชมจะเห็นด้วยกับผมหรือเปล่า ทั้งหมดนี้เป็นการอนุมานของผม ซึ่งผมไม่อยากให้มันเป็นความจริง เพราะจะมีคนล้มหายตายจากกันไปเยอะ ประเทศบ้านเรือนจะพังพินาศฉิบหายกันไป แต่ผมเกรงว่า คำอนุมานของผมนั้นน่าจะใกล้เคียงความจริงที่สุดครับท่านผู้ชม

ทำไมอินเดียยืนข้างอิสราเอล


ท่านผู้ชมครับ ท่านผู้ชมไม่เคยสงสัยหรือว่า สงครามระหว่างกลุ่มฮามาส ซึ่งต้องถือว่าเป็นตัวแทนของชาวอาหรับในตะวันออกกลางที่ต่อสู้กับอิสราเอลนั้น ทันทีที่สงครามเกิดขึ้น ทำไมอินเดียถึงยืนข้างอิสราเอลทันทีเลย ไม่ฟังอีร้าค่าอีรมเลย

ไม่กี่ชั่่วโมงหลังจากกองกำลังติดอาวุธชาวปาเลสไตน์ ฮามาส บุกเข้าโจมตีอิสราเอล เมื่อวันเสาร์ที่ 7 ตุลาคม 2566 นายนเรนทรา โมดี นายกรัฐมนตรีของอินเดีย ใช้โซเชียลมีเดียสนับสนุนอิสราเอลอย่างชัดเจน ในโซเชียลมีเดีย นายโมดี ระบุว่า เรายืนหยัดเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกับอิสราเอลในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ เขาโพสต์ลงไปใน X หรือทวิตเตอร์นั่นเอง และยังพูดอีกว่า ตกใจอย่างยิ่งกับข่าวการโจมตีของผู้ก่อการร้ายในอิสราเอล เราขอส่งกำลังใจและคำอธิษฐานไปยังเหยื่อผู้บริสุทธิ์ และครอบครัวของพวกเขา


ผมหวังว่า นายโมดี ณ วันนี้ น่าจะทวิตเตอร์อีกครั้งนะครับว่า ผมเสียใจที่กองทัพอิสราเอลยิงถล่มโรงพยาบาลในกาซา ทำให้คนบริสุทธิ์ หมอ พยาบาล และคนไข้ เสียชีวิตถึง 500 คน แต่พนันกับผมไหมท่านผู้ชม แขกก็คือแขก ไม่พูดหรอกครับ อะไรที่พูดแล้วตัวเองได้ ก็จะพูด

หลังจากวันที่ 7 ไปแล้ว ผ่านไปสามวัน วันอังคารที่ 10 ตุลาคม 2566 นายโมดี ได้รับโทรศัพท์ติดต่อจากนายเบนจามิน เนทันยาฮู ผู้นำอิสราเอล ท่ามกลางสงครามอิสราเอล-ฮามาสที่กำลังดำเนินอยู่อย่างดุเดือด หลังจากนั้นแล้ว นายโมดี ก็ทวีตข้อความประณามการก่อการร้ายทุกรูปแบบ ประชาชนชาวอินเดียจะยืนหยัดร่วมกับอิสราเอลในช่วงเวลาที่ยากลำบากนี้ และอินเดียขอประณามการก่อการร้ายอย่างรุนแรงและชัดเจนในทุกรูปแบบและการแสดงออก แต่นายโมดี ไม่ได้ให้ความเห็นถึงการเสียชีวิตของชาวปาเลสไตน์นับพันจากเหตุการณ์ที่อิสราเอลดำเนินการตอบโต้กลับด้วยการยิงขีปนาวุธใส่ฉนวนกาซา ทำให้มีคนเสียชีวิตไปหลายพันคน


ส่วนนายสุพรหมณยัม ชัยศังกระ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นลูกไล่หรือคนรับใช้นายโมดี ได้รีโพสต์ทั้งสองข้อความของนายโมดี ซ้ำ


ทั้งหมดนี้เป็นการบ่งชี้จุดยืนของอินเดียในประเด็นนี้ แม้ว่าโฆษกกระทรวงการต่างประเทศอินเดียจะแถลงแก้เกี้ยวว่าอินเดียสนับสนุนให้รัฐปาเลสไตน์เป็นอิสระก็ตาม

ประเด็นครับ ทวีตของนายโมดี นายกรัฐมนตรีอินเดีย ดังกล่าว ชี้ถึงจุดยืนของอินเดีย ณ วันนี้ ได้เปลี่ยนแปลงจุดยืนเดิมทางประวัติศาสตร์ที่เคยสนับสนุนปาเลสไตน์ในสงครามความขัดแย้งระหว่างอิสราเอลกับปาเลสไตน์ จุดยืนนี้ต่างกว่าแถลงการณ์เดิมที่เคยตอบสนองต่อวิกฤตการณ์ที่ทวีความรุนแรงขึ้นในเอเชียตะวันออกกลางในอดีต นโยบายของอินเดียเกี่ยวกับปัญหาปาเลสไตน์ และอิสราเอล มีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ แม้ว่าอินเดียจะยอมรับความเป็นรัฐของอิสราเอลในปี 2493 แต่อินเดีย และอิสราเอล ไม่ได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกันอย่างเป็นทางการ จนถึงต้นทศวรรษที่ 1990

ในขณะนั้น เวลานั้น อินเดียเป็นหัวหอกในการสนับสนุนชาวปาเลสไตน์ โดยปี 2557 อินเดียเป็นประเทศแรกที่ไม่ใช่ประเทศอาหรับที่รับรององค์การปลดปล่อยปาเลสไตน์ หรือที่เขาเรียกว่า Palestine Liberation Organization (PLO) ในฐานะตัวแทนที่ถูกต้องตามกฎหมายของชาวปาเลสไตน์เพียงผู้เดียว


อินเดียไม่ต้องการสร้างศัตรูกับโลกอาหรับ เนื่องจากต้องการพึ่งพาแหล่งน้ำมันจากตะวันออกกลาง นอกจากนี้แล้ว ยังต้องการแรงสนับสนุนจากกลุ่มประเทศมุสลิมในปมปัญหาเรื่องเกี่ยวกับแคชเมียร์ด้วยในขณะนั้น แต่หลังจากสิ้นสุดสงครามเย็น ด้วยภูมิรัฐศาสตร์โลกที่เปลี่ยนไป ท่ามกลางปัญหาการก่อการร้ายที่เพิ่มขึ้นในประเทศอินเดีย และอินเดียสนใจในเทคโนโลยีป้องกันประเทศของอิสราเอล คืออิสราเอลมีเทคโนโลยีในการป้องกันประเทศ ก็เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่อินเดียเปิดสัมพันธ์ทางการทูตกับอิสราเอลในปี 2535 หรือประมาณ 31 ปีที่แล้ว

นับตั้งแต่ช่วงนั้นเป็นต้นมา กว่าสามสิบปี ความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ อินเดีย และ อิสราเอล ก็เติบโตขึ้น ทั้งสองประเทศร่วมมือด้านความมั่นคงแห่งชาติ การต่อต้านการก่อการร้าย

กราฟิกต่อไปนี้จากเว็บไซต์ของ Middle East Sign แสดงให้เห็นว่าในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา อิสราเอลเป็นฝ่ายสนับสนุนด้านอาวุธและการทหารให้กับอินเดียมาตลอด ไม่ว่าจะเป็นสงครามระหว่างจีน และปากีสถาน


อีกสิบกว่าปีถัดมา ในปี 2531 อินเดียก็เป็นหนึ่งในประเทศแรกๆ ที่รับรองรัฐปาเลสไตน์ อินเดียมักอ้างเหตุผลถึงความมุ่งมั่นต่อสู้ดิ้นรนของปาเลสไตน์ผู้ถูกกดขี่ โดยลึกๆ แล้ว รากฐานของนโยบายนี้
ปี 2505 รัฐบาลนายเดวิด เบนกูเรียน อิสราเอลได้จัดมอบอาวุธให้อินเดียสู้รบกับจีน

2508 ในสงครามจีน และ ปากีสถาน ช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 ราวปี 2513 ผู้นำกองทัพอินเดียรู้สึกประทับใจและหลงใหลในเทคโนโลยีของอิสราเอลมาก มีการพบปะหลายครั้งระหว่างผู้นำทหารในช่วงทศวรรษที่ 1990 หลังจากมีความสัมพันธ์ทางการทูต อินเดียถึงกับตั้งทูตทหารประจำเทลอาวีฟ เมื่อปี 2538 หรือ28 ปีที่แล้ว

2542 อิสราเอลให้ความช่วยเหลือเร่งด่วนด้านยุทโธปกรณ์แก่กองทัพอากาศอินเดีย ในการทำสงครามโจมตีปากีสถาน ทำให้อิสราเอลกลายเป็นพันธมิตรทางทหารที่อินเดียผูกพันอย่างใกล้ชิด หลังจากการสิ้นสุดสงครามเย็น อินเดียซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นประเทศผู้นำเข้าอาวุธยุทโธปกรณ์เบอร์ต้นๆ ของโลก พยายามกระจายแหล่งซัปพลายเออร์จัดหาอาวุธของตน รัสเซียยังคงเป็นซัปพลายเออร์รายใหญ่ที่สุด รองลงมา แน่นอนที่สุด กลายเป็นอิสราเอลไปแล้ว ส่วนอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ ยังคงเป็นซัปพลายเออร์อาวุธเจ้าใหญ่ของอินเดีย แต่ไม่แนบแน่นเท่ารัสเซีย และอิสราเอล

สำหรับอาวุธยุทโธปกรณ์เหล่านี้ที่อินเดียนำเข้ามาในอิสราเอล ยกตัวอย่างเช่น เรือตรวจการณ์ อุปกรณ์ซอฟต์แวร์ในการสอดแนมและเฝ้าระวัง โดรน ขีปนาวุธต่อต้านรถถัง ขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ เป็นต้น


นอกจากนี้ ตั้งแต่นายกรัฐมนตรีนเรทรา โมดี ผู้นำพรรคภารตียชนตา เข้ารับตำแหน่งปี 2557 ปรากฏว่าอิสราเอลได้ส่งอาวุธสงครามไปยังอินเดียประมาณ 42.1 เปอร์เซ็นต์ ของการส่งออกอาวุธทั้งหมดของประเทศ นอกจากนี้แล้ว ข้อมูลของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม ยังชี้ด้วยว่า ยุคนายโมดี ตั้งแต่ 2558-2562 อินเดียซื้ออาวุธจากอิสราเอลเพิ่มขึ้น 175 เปอร์เซ็นต์ โดยอินเดียจัดงบความมั่นคงซื้อยุทโธปกรณ์ทางทหารอิสราเอลมูลค่ากว่าหนึ่งพันล้านดอลลาร์ต่อปี ทำให้อินเดียกลายเป็นลูกค้าด้านอาวุธยุทโธปกรณ์ทางทหารรายใหญ่ที่สุดของอิสราเอล

ทั้งอินเดียและอิสราเอลมีการเจรจาระดับคณะทำงานร่วมอินเดีย-อิสราเอลว่าด้วยความร่วมมือด้านกลาโหมเพื่อป้องกันและการต่อต้านการก่อการร้าย ทั้งสองอ้างป้องกันปราบปรามลัทธิการก่อการร้ายอิสลามเพื่อเดินหน้านโยบายความมั่นคงและความจำเป็นในการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์กับอิสราเอล และแบ่งปันข้อมูลข่าวกรองนับตั้งแต่ปี 2560 โดยในช่วงห้าปีที่ผ่านมาทั้งสองประเทศได้ดำเนินการซ้อมรบทางการทหารร่วมกัน ผลัดกันเป็นเจ้าภาพฝึกอบรมกองกำลังตำรวจและกองทัพทหาร ตลอดจนแลกเปลี่ยนการเยือนผู้นำรัฐบาลและทหารซึ่งกันและกัน


ท่านผู้ชมครับ เรามาดูว่าอินเดียนั้นซื้ออาวุธอะไรบ้างจากอิสราเอล ยุทโธปกรณ์อย่างแรกๆ ที่อินเดียซื้อจากอิสราเอล คือเรือลาดตระเวนเร็ว ชื่อ Super Dvora MJ11 จำนวน 2 ลำ ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1990 ต่อมาอินเดียได้นำเข้าอุปกรณ์ป้องกันระดับสูง รวมถึงโดรน อากาศยานไร้คนขับ ติดเครื่องมือระบบค้นหา และ Heron และโดรนติดอาวุธระบบขีปนาวุธ และเซ็นเซอร์ระบบออปติคัลไฟฟ้า หรืออาวุธโจมตีทาวเวอร์ที่ใช้โจมตีกองกำลังพิเศษของอินเดียในดินแดนแคชเมียร์ที่อินเดียยึดครอง


ท่านผู้ชมครับ ในปี 2557-2564 อินเดียได้รับอุปกรณ์เรดาร์ เครื่องบินรบ UAV ติดอาวุธขีปนาวุธต่อต้านรถถัง และขีปนาวุธจากพื้นสู่อากาศ รวมถึงฮาร์ดแวร์อื่นๆ จากอิสราเอล มีรายงานว่า อินเดียครอบครองโดรนลาดตระเวนค้นหาของอิสราเอล 108 ลำ และ Heron 1 ที่ไม่มีอาวุธ 68 ลำ นอกจากนี้ ยังมีโดรน Harpy หลายลำ หรือรู้จักกันในชื่อโดรนโจมตีแบบกามิกาเซ่ของอิสราเอล


ต้นปี 2563 รัฐบาลโมดี สั่งปืนกลเบา เนเกฟ (Negev) ที่พัฒนาโดยบริษัทอิสราเอลอุตสาหกรรมอาวุธ จำนวน 16,479 กระบอก ทำให้นักเคลื่อนไหวชาวอินเดียจำนวนหนึ่งออกมาเคลื่อนไหวประท้วงอย่างหนัก

ครั้งล่าสุด ในการโจมตีปากีสถานในปี 2562 อินเดียได้ใช้ชุดนำวิถีระเบิด SPICE-2000 ที่ผลิตโดยอิสราเอล ส่งให้อินเดียติดตั้งบนเครื่องบินต่อสู้มิราจ (Mirage 2000H) โดยชุดนำวิถี SPICE-2000 สามารถแปลงระเบิดแบบ Dump Gravity Bomb ในตระกูล MK-84 และ BLU-109 เพื่อให้กลายเป็นระบบอัตโนมัติ


และปีที่แล้ว (2565) ระหว่างที่ขัดแย้งกับจีน อินเดียยังสั่งซื้ออากาศยานไร้คนขับลาดตระเวนเพดานบินปานกลาง ระยะทำการยาวนาน จำนวน 4 ลำ

ท่านผู้ชมคีรับ เรามาถึงหัวใจของเรื่องนี้ อย่างไรก็ตาม ความสัมพันธ์ทางการทหารระหว่างอิสราเอล กับ อินเดีย เป็นอะไรที่ลึกซึ้งมากกว่ายุทโธปกรณ์ทางทหาร เพราะว่าในปี 2562 หลังจากที่อินเดียใช้กองกำลังทหารอินเดียยึดครองแคว้นแคชเมียร์ และยกเลิกสถานะพิเศษและสิทธิของรัฐชัมมูและแคชเมียร์ โดยใช้กฎหมายมาตรา 370 ในรัฐธรรมนูญ และใช้กองกำลังทหารปราบปรามชาวแคชเมียร์ที่ประท้วง ปรากฏว่านักการทูตอาวุโสอินเดียในสหรัฐฯ แนะนำให้รัฐบาลอินเดียใช้แบบแผนยึดดินแดนของอิสราเอลที่ย้ายถิ่นฐานของชาวอิสราเอลมาตั้งในเขตเวสต์แบงก์ และเยรูซาเล็มตะวันออก หรือพูดง่ายๆ คือยกเอาโมเดลปาเลสไตน์ของอิสราเอล เอามาใช้กับแคชเมียร์ของตัวเอง โดยส่งเสริมให้ชาวฮินดูเข้ามายึดแคชเมียร์แทนที่คนส่วนใหญ่ซึ่งเป็นชาวมุสลิมที่ถูกรัฐบาลอินเดียคุกคามและหมายหัวเป็นผู้ก่อการร้าย ทำให้ทุกวันนี้แคชเมียร์เป็นหนึ่งในเขตที่มีทหารหนาแน่นที่สุดในโลก


ทหารอินเดีย 5 แสนคน ถูกนำไปต่อต้านผู้ก่อการร้ายเพียงน้อยนิดในแคชเมียร์

2563 อินเดียและอิสราเอลยังได้ร่วมลงนามข้อตกลงเพื่อขยายความร่วมมือด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์ เพื่อใช้งานสอดแนมผู้ก่อการร้ายของกองทัพและหน่วยข่าวกรองของประเทศ อันเป็นข้อตกลงความร่วมมือภายหลังจากที่นายกฯ โมดี ไปเยือนอิสราเอลเมื่อปี 2560 เดือนกรกฎาคม

ต่อมาได้ปรากฏรายงานข่าวของนิวยอร์กไทมส์เมื่อเดือนมกราคม 2565 กล่าวว่า ในข้อตกลงกับอินเดียเมื่อปี 2560 นั้น อินเดียซื้อสปายแวร์ Pegasus ที่ผลิตโดย NSO บริษัทเทคโนโลยีสอดแนมของอิสราเอล ที่ใช้ในการแฮกบัญชีส่วนตัว ล้วงข้อมูลลับ ดักฟังนักการเมือง นักเคลื่อนไหว สื่อ และผู้นำฝ่ายค้านชาวอินเดีย กว่า 300 คน

ในขณะที่อินเดียได้ร่วมมือกับอิสราเอล เทคโนโลยีสอดแนมการก่อการร้ายในอิสราเอล มีบทบาทสำคัญในการติดตามชายแดนของอินเดีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแคชเมียร์ ยิ่งทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดียกับอิสราเอลกระชับแน่นขึ้น และอินเดียลดการสนับสนุนปาเลสไตน์ลง จากที่เคยประณามการยึดครองของอิสราเอลที่สนับสนุนมติของสหประชาชาติว่า การละเมิดสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นพื้นฐานอย่างกว้างขวาง เป็นระบบที่ร้ายแรง

การเปลี่ยนแปลงเงียบๆ ภายใต้รัฐบาลปี 2547-2557 นับตั้งแต่ปี 2557 เป็นต้นมา เป็นครั้งแรกที่อินเดียไม่ได้ลงคะแนนต่อต้านอิสราเอลในองค์กรโลก

ต่อมาในปี 2558 อินเดียก็งดออกเสียงในการลงคะแนนเสียงที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ ต่อรายงานที่วิพากษ์วิจารณ์ฉนวนกาซาในอิสราเอล แล้วมาเปลี่ยนจุดยืนชัดเจนในยุครัฐบาลของนายนเรนทรา โมดี เข้ามามีอำนาจตั้งแต่ปี 2557 จนถึงปัจจุบัน ความสัมพันธ์ระหว่างอินเดีย-อิสราเอลทวิภาคียิ่งวันยิ่งแน่นแฟ้นมากขึ้น

แท้ที่จริงแล้ว นายกฯ โมดี ชื่นชมกลยุทธ์การต่อต้านการก่อการร้ายของอิสราเอล จำได้ว่า 2559 เมื่ออินเดียดำเนินการโจมตี ฆ่าผู้ก่อการร้ายแคชเมียร์ทางฝั่งปากีสถาน นายโมดี ได้เปรียบเทียบการกระทำของอินเดีย กับการกระทำที่อิสราเอลทำในเขตดินแดนฉนวนกาซาที่ถูดยึดครอง ก็เลยไม่เป็นที่น่าประหลาดใจเมื่อนายโมดี ทวีตแสดงการสนับสนุนอิสราเอลอย่างเต็มที่ ทำให้เขาเป็นที่ชื่นชอบในบรรดาหมู่กลุ่มคนหัวรุนแรงในอิสราเอลและมหาอำนาจตะวันตก แทนที่จะวางตนให้ถูกทาง เรียกร้องให้อิสราเอลยุติการยึดครองรัฐปาเลสไตน์


เช่นเดียวกับที่เคยรักษาความเป็นกลางในนโยบายต่างประเทศกรณีสงครามยูเครน โดยไม่ประณามรัสเซีย เพราะอะไร ? ไม่ใช่เพราะมีจุดยืนหรอก แต่เพราะอินเดียต้องการซื้อน้ำมันรัสเซียราคาถูก และยังต้องการซื้ออาวุธสงครามของรัสเซีย นี่พิสูจน์ชัดเจนว่าความเป็นกลางของอินเดียในยุคนายโมดีนั้น เป็นเรื่องสับปลับ โกหก

ยิ่งกว่านั้น นายโมดี ยังหวังจะสนับสนุนคะแนนเสียงการเลือกตั้งปีหน้า เพื่อให้ตัวเองสามารถรักษาเก้าอี้นายกรัฐมนตรีได้ต่อ ซึ่งเป็นเรื่องที่ท้าทายมาก เขาต้องสร้างผลงานและผลประโยชน์สูงสุดในอินเดีย ในปีนี้อินเดียเป็นประธานกลุ่มการประชุม G20 การประชุมสุดยอดที่ผู้นำ ประธานาธิบดีสี จิ้นผิง และปูติน ไม่เข้าร่วมการประชุม มีแต่อเมริกาและตะวันตกที่ต่างพากันเอาใจอินเดียเพื่อใช้คานอำนาจจีนในภูมิภาคนี้ ซึ่งในเบื้องลึกแล้ว ทั้งปูติน และสี จิ้นผิง รู้ว่าอินเดียเป็นคนที่คบไม่ได้เลยแม้แต่นิดเดียว


และเราก็ต้องจับตาดูการประชุมของ BRICS ในปีต่อๆ ไปว่าอินเดียจะแสดงบทบาทยืนข้างตะวันตกอย่างไร ทั้งๆ ที่ส่วนใหญ่แล้ว ยกเว้นอินเดีย จะไม่เอาทางตะวันตก และรวมไปจนถึงจะไม่เห็นใจอิสราเอลในเรื่องของตะวันออกกลาง จะยืนข้างปาเลสไตน์

อินเดียพยายามที่จะทำตัวเป็นคู่แข่งกับจีน ในการประชุม G20 นั้น ประกาศว่า อินเดีย ซาอุดีอาระเบีย สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป และประเทศพันธมิตรอื่นๆ จะสร้างทางรถไฟและทางเดินขนส่งสินค้าที่จะมีการเชื่อมอินเดียกับตะวันออกกลาง และยุโรป เป็นระยะทางหลายพันกิโลเมตร เรียกได้ว่าเป็นโครงการระเบียงเศรษฐกิจอินเดีย-ตะวันออกกลาง-ยุโรป ที่จะสู้กับโครงการหนึ่งแถบหนึ่งเส้นทาง (BRI) ที่ทำล่วงหน้ามาสิบปีแล้ว ซึ่งจีนได้ลงทุนอย่างมหาศาลในโครงการถนน ทางรถไฟ ท่าเรือทั่วโลก เพื่อควบคุมการค้าที่ไหลผ่านแอฟริกา ตะวันอกกลาง เอเชียกลาง และยุโรป ได้มากขึ้น ก็เลยเป็นเรื่องที่ไม่น่าประหลาดใจที่นายเบนจามิน เนทันยาฮู ยกย่องโครงการ IMEC คือเส้นทางรถไฟที่เชื่อมอินเดีย เข้าสู่ตะวันออกกลาง และไปยุโรปนั้น ว่าเป็นโครงการความร่วมมือที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของเรา โดยวาดหวังว่าเมืองไฮฟาในอิสราเอลจะเป็นศูนย์กลางเครือข่ายโครงสร้างพื้นฐานนี้ สะท้อนความคิดของผู้นำอิสราเอลว่าชาวยิวจะต้องเป็นศูนย์กลางของโลก โดยนายเนทันยาฮู พูดว่า ประเทศของเรา (อิสราเอล) จะเป็นทางแยกกลางในระเบียงเศรษฐกิจนี้ ทางรถไฟและท่าเรือเราจะเปิดประตูใหม่จากอินเดีย ผ่านตะวันออกกลาง ไปยังยุโรป และกลับ


การเชื่อมต่อใหม่รถไฟบนคาบสมุทรอาหรับถือว่าเป็นการเปลี่ยนกระบวนทัศน์เชิงกลยุทธ์ของผลลัพธ์ทางภูมิรัฐศาสตร์อันมหาศาลที่อาจจะปรับเปลี่ยนบทบาทอินเดียในระเบียงเศรษฐกิจของเอเชีย เพราะการค้าและขนส่งสินค้าผ่านการพัฒนาเส้นทางเชื่อมต่อ 3 ภูมิภาค ระหว่างอินเดีย ประเทศอาหรับในตะวันออกกลาง และยุโรป ผ่าน Eastern Corridor เส้นทางเดินเรือข้ามอ่าวอาระเบีย จากอินเดีย UAE ดูไบ และเส้นทางของ UAE-ซาอุฯ-จอร์แดน-อิสราเอล (ไฮฟา) และผ่าน Northern Corridor เส้นทางเดินเรือจากเมืองท่าไฮฟาของอิสราเอล ไปยังเมืองท่าสำคัญทางยุโรปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน รวมทั้งอำนวยความสะดวกในการขนส่งพลังงานไฟฟ้าผ่านสายเคเบิล ขนส่งไฮโดรเจนผ่านท่อแก๊ส เพื่อเสริมการพัฒนาพลังงานสะอาดและความมั่นคง


ท่านผู้ชมครับ นั่นคือความฝันของอินเดียและอิสราเอล แต่การสงครามระหว่างอิสราเอลและฮามาสในครั้งนี้เป็นจุดจบของความทะเยอทะยานและความฝันของผู้นำอินเดียที่กล่าวว่า IMEC จะเป็นโครงสร้างพื้นฐานการค้าโลกอีกหลายร้อยปีข้างหน้า เพราะตะวันออกกลางตกอยู่ในภาวะสงครามที่จะส่งผลกระทบต่ออนาคตของโครงการรถไฟเชื่อมต่อในคาบสมุทรอาหรับ และมีความเสี่ยงที่จะล้มโครงการนี้มาก เมื่อซาอุดีอาระเบียยุติการเจรจาเพื่อฟื้นฟูความสัมพันธ์กับอิสราเอล โดยมีสหรัฐอเมริกาพยายามทำตัวเป็นตัวกลาง

ท่านผู้ชมครับ การสร้างระเบียงเศรษฐกิจ IMEC ระหว่างอินเดีย เอเชียตะวันออกกลาง และยุโรป ต้องอาศัยการเชื่อมต่อที่ราบรื่น แต่สงครามฉนวนกาซาที่เกิดขึ้นบนคาบสมุทรอาหรับเกิดขึ้นต่อเนื่อง จึงเป็นเรื่องท้าทายผู้นำอินเดีย นเรนทรา โมดี ที่ปากไว ประณามการโจมตีอิสราเอล และกลุ่มฮามาส ว่าเป็นการก่อการร้าย อาจจะส่งผลเสียต่อความสัมพันธ์ในประเทศอาหรับในภูมิภาคนี้จนเสียหายต่อผลประโยชน์ของอินเดีย

ท่านผู้ชมครับ นี่คือสิ่งที่น่าเศร้า อินเดียเคยเป็นประเทศที่มีหลักการ แต่อินเดียมีปัญหาภายใน คือปัญหาแคชเมียร์ ที่อินเดียไม่สามารถจะแก้ไขได้ด้วยวิธีสันติ แต่อินเดียใช้ความรุนแรงในการปราบปรามผู้ที่ไม่เห็นด้วยกับอินเดียในแคว้นแคชเมียร์ เลยทำให้อินเดียจำเป็นต้องหันไปพึ่งอิสราเอล ซึ่งเป็นผู้สนับสนุนยุทโธปกรณ์และอาวุธต่างๆ ในการปราบปรามผู้ก่อการร้าย มิหนำซ้ำแล้ว นายโมดี ยังไปใช้โมเดลของปาเลสไตน์และเวสต์แบงก์ ที่อิสราเอลสนับสนุนส่งเสริมให้ชาวอิสราเอลบุกเข้าไปในพื้นที่ที่เป็นของชาวปาเลสไตน์ ไปตั้งรกรากที่นั่น อินเดียก็ใช้นโยบายเดียวกัน


ความทะเยอทะยานของนายโมดีนอกเหนือจากเรื่องนี้แล้ว ก็ยังเป็นเรื่องที่พยายามทำตัวให้แข่งขันกับจีน โดยใช้นโยบาย Made in India ขึ้นมา เพื่อแข่งกับ Made in China นายโมดี ไม่เคยรับทราบถึงศักยภาพของคนของตัวเองเลยแม้แต่นิดเดียว ยกตัวอย่าง ไอโฟน 15 ครั้งนี้ Apple จ้างจีน โดยผ่านบริษัท ฟ็อกซ์คอนน์ ในประเทศจีน และ Apple ให้ฟ็อกซ์คอนน์ไปตั้งโรงงานที่อินเดีย ปรากฏว่าไอโฟนที่ผลิตจากอินเดีย คุณภาพต่ำมาก ต่ำมากๆ ฝาหลุด เครื่องร้อนผิดปกติ ใช้งานไม่ได้ แต่ของจีนนั้นไม่มีปัญหาเลยแม้แต่นิดเดียว แล้วบริษัทหลายบริษัทที่เข้าไปลงทุนในอินเดียนั้น พากันถอนตัวออกจากอินเดียกันเป็นแถว อินเดียไม่พูดสักคำ เพราะฉะนั้นอินเดียในขณะนี้ไม่ใช่อินเดียในอดีตที่ผมเคยชื่นชอบอีกต่อไป แต่เป็นอินเดียที่ปลิ้นปล้อน สักวันหนึ่งถ้าตะวันออกกลางไม่ยอมขายน้ำมันให้อินเดีย หรือรัสเซียสั่งลดการซื้อน้ำมันจากอินเดีย ที่ซื้อจากรัสเซียไป อินเดียก็จะรู้ว่าวันนั้นอินเดียก็จะต้องยืนอยู่บนโลกนี้อย่างโดดเดี่ยวเดียวดาย

แต่อินเดียคืออินเดีย สามารถกะล่อนเอาตัวรอดได้ในทุกสถานการณ์ครับ

ปรากฏการณ์ EV จีน ถล่มตลาดยุโรป

ท่านผู้ชมครับ หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาผมทยอยเล่าเรื่องประเด็นเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีของโลก ซึ่งเป็นตัวแปรสำคัญในการเคลื่อนย้ายดุลอำนาจของโลก จากที่เดิมทีหลายร้อยปีที่ผ่านมา ตกอยู่ในอุ้งมือของชาติตะวันตก ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนสำคัญ ไม่ว่าจะเป็นชาติต่างๆ ในยุโรป หรือในสหรัฐอเมริกาก็ตาม แต่ท่านผู้ชมรู้ไหมว่าเวลานี้สถานการณ์ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วมาก เพราะประเทศจีนได้เร่งพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาทุกด้าน โดยหลายด้านก้าวขึ้นมาใกล้เคียงหรือทัดเทียมชาติตะวันตกแล้ว อย่างเช่น เทคโนโลยีของชิป เทคโนโลยีด้านฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ทั้งหลาย เทคโนโลยีด้านรถไฟความเร็วสูง เครื่องบินเชิงพาณิชย์ เช่น จีน ที่ผมเคยเล่าให้ท่านผู้ชมฟังแล้วว่า ผลิตเครื่องบิน C-919 ขึ้นมาแข่งกับโบอิ้ง 737 และแอร์บัส 320 แล้วก็มียอดสั่งเข้ามาเป็นพันกว่าเครื่องแล้ว รวมทั้งเทคโนโลยีทางการทหาร และที่สำคัญคือเทคโนโลยีทางด้านอวกาศ ซึ่งจีนล้ำหน้าทางชาติตะวันตกไปอย่างชนิดทิ้งไม่เห็นฝุ่นเลยแม้แต่นิดเดียว


ไม่เพียงแต่จีนจะพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นมาทัดเทียมชาติตะวันตก ในหลายด้านยังมีการพัฒนาที่ล้ำหน้า แซงหน้าตะวันตกไปแล้ว

ตั้งแต่ผมจัดรายการ "คุยทุกเรื่องกับสนธิ" เป็นต้นมา ตั้งแต่สี่ปีที่แล้ว ผมทยอยนำเรื่องราวเหล่านี้มาเล่าให้ท่านผู้ชมได้รับทราบ วันศุกร์ที่แล้วผมได้เปิดประเด็นว่าปี 2566 น่าจะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ โดยเป็นปีที่น่าจะถือได้ว่าจีนได้ประกาศอิสรภาพทางเทคโนโลยีอย่างแท้จริง ไม่ต้องไปเว้าวอน ง้องอน คุกเข่ารอรับการถ่ายทอดเทคโนโลยี ขอซื้อสินค้าเทคโนโลยีที่สำคัญจากชาติตะวันตกอีกต่อไป

ผมพูดเรื่องนี้ หลายเรื่อง เรื่องเครื่องบิน C-919 ในเดือนพฤษภาคม 2565 และ "คุยทุกเรื่องกับสนธิ" ออกอากาศเมื่อวันศุกร์ที่ 13 ตุลาคม 2566 สัปดาห์นี้ผมขอนำอีกเรื่องหนึ่ง อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่จีนเร่งพัฒนาขึ้นมาอย่างรวดเร็วในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา ปัจจุบันก้าวล้ำจนสามารถนำกลับไปตีตลาดในโลกตะวันตกได้อย่างน่าทึ่ง และผมเชื่อว่าถ้าท่านผู้ชมได้รับทราบรายละเอียดที่ผมนำมาเล่าให้ฟังในวันนี้แล้ว ท่านผู้ชมจะต้องเห็นด้วยกับผมอย่างแน่นอนที่สุด


อุตสาหกรรมและเทคโนโลยีที่ว่านั้นคือรถยนต์ไฟฟ้า หรือ EV ภาษาอังกฤษเต็มคำเรียกว่า Electrical Vehicle เท่าที่ผมจำได้แต่ไหนแต่ไรมาผู้ใช้รถยนต์ทั่วโลก รวมทั้งคนไทย ต่างคุ้นเคยกับค่ายรถยนต์ของสหรัฐอเมริกา ยุโรป และค่ายญี่ปุ่น มาหลายสิบปี คนรวย มีระดับ มีสตางค์ ขับรถแบรนด์อเมริกัน ยุโรป ชนชั้นกลางขับรถญี่ปุ่น แม้ต่อมาจะมีรถยนต์จากเกาหลีใต้ อย่างฮุนได และเกีย เข้ามาทำตลาดในประเทศไทย แต่ก็ไม่สำเร็จเท่าไรนัก

อย่างไรก็ตาม ท่านผู้ชมทุกท่านคงจะสังเกตเห็นได้ชัดว่า ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ บนท้องถนนบ้านเราเริ่มมีรถยนต์แบรนด์จีนวิ่งอยู่ตามท้องถนนของไทยเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ตั้งแต่ BYD, MG, Great Wall Motor, NETA แล้วยังมีรถยนต์จีนอีกหลายต่อหลายยี่ห้อกำลังจะเข้ามาทำตลาดในเมืองไทย เกือบจะทั้งหมดมีจุดเด่นในเรื่องของเทคโนโลยีรถยนต์ไฟฟ้า


นี่คือปรากฏการณ์ใหม่บนท้องถนนเมืองไทย ที่รถญี่ปุ่นเคยเป็นเจ้าถนน รถเก๋งต้องโตโยต้า ฮอนด้า มาสด้า นิสสัน มิตซูบิชิ รถแท็กซี่ทุกคันเกือบจะเป็นโตโยต้าไปหมด ปิกอัพต้องอีซูซุ รถบรรทุกต้องฮีโน่

สินค้า Made in China เคยถูกมองว่าด้อยคุณภาพ มีแต่ของลอกเลียนแบบ จนถูกเปรียบเปรยว่าเป็นของก๊อปเซินเจิ้น แต่ทุกวันนี้จีนกลับกลายเป็นผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลก ที่สำคัญที่สุด รถยนต์ไฟฟ้าเหล่านี้ใช้เทคโนโลยีของจีนเอง

ผมจะยกตัวอย่างอันหนึ่งให้ฟัง ท่านผู้ชมจำรถ MG ได้ไหม ? ชื่อเต็มคือ Moris Garage จีนปลุกชีพ MG ถล่มตลาดอังกฤษ ชูเด่นรถไฟฟ้า ทำยอดขายทะลุถึง 1 พันล้านปอนด์

วันจันทร์ที่ผ่านมา 16 ตุลาคม 2566 สำนักข่าว BBC อังกฤษ รายงานว่า รถยนต์ที่มีต้นกำเนิดในอังกฤษเมื่อทศวรรษที่ 1920 หรือเมื่อร้อยปีที่แล้ว ได้กลับมาเกิดใหม่อีกครั้งอย่างแข็งแกร่ง ภายใต้การบริหารงานของ SAIC Motor ยักษ์ใหญ่ในแวดวงยานยนต์จีน ซึ่งเป็นบริษัทลูกในเครือ SAIC เขาได้ซื้อแบรนด์ MG ต่อจากอังกฤษมาตั้งแต่ปี 2549 (2006) เรื่องนี้กลายเป็นข่าวใหญ่ เพราะว่าตั้งแต่เมื่อ 17 ปีก่อน MG ล้มละลายไป บริษัทเข้ามาซื้อกิจการ ยอดขายและผลประกอบการ MG ในอังกฤษที่ไม่เคยพุ่งก้าวกระโดดไกลอย่างนี้มาก่อน

รายงานของบริษัท MG Motor ในอังกฤษ ระบุว่า ตอนนี้บริษัทฯ (MG) ที่จีนซื้อไปมีสถานะที่แข็งแกร่งมาก ความได้เปรียบในการเปลี่ยนผ่านสู่รถยนต์ไฟฟ้า โดยในปี 2565 ยอดขายรถ MG ในอังกฤษมีมูลค่ามากกว่า 1,000 ล้านปอนด์ (44,000 ล้านบาท) เลยทำให้กำไรก่อนหักภาษีของบริษัทฯ ในปี 2565 พุ่งขึ้นเป็น 54.2 ล้านปอนด์ หรือราวๆ 2,400 ล้านบาท เทียบกับกำไรในปีก่อนหน้านั้น คือปี 2564 ที่บริษัทฯ มีกำไรก่อนหักภาษีเพียง 4.3 ล้านปอนด์ หรือแค่ 190 ล้านบาท จาก 190 ล้านบาท กำไรกระโดดขึ้นไปเป็นกำไร 2,400 ล้านบาท


ยอดขาย MG ที่เพิ่มขึ้นมากกว่าเท่าตัว เกิดขึ้นจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้า และรถยนต์ไฮบริดของผู้บริโภคชาวอังกฤษที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งในรายการพวกนี้จีนได้เปรียบ แล้วรุกเข้ามาทำตลาดในอังกฤษอย่างหนัก

BBC รายงานด้วยว่า บริษัทสัญชาติอังกฤษ ซึ่งเป็นเจ้าของ MG รายสุดท้าย คือ MG Rover ก่อนที่บริษัทนี้จะล้มละลายในปี 2548 ก่อนที่กลุ่มหนานจิงออโต้ของจีนจะเข้ามาเทกโอเวอร์แบรนด์ MG ไป และต่อมา SAIC เซี่ยงไฮ้ กับหนานจิงออโต้ ควบรวมบริษัทกันปี 2550 หรือสิบหกปีที่แล้ว

เมื่อบริษัทจีนเข้ามาเทกโอเวอร์แบรนด์ MG แบบเบ็ดเสร็จแล้ว ก็มีการโยกย้ายฐานการผลิตที่ตั้งอยู่บนเกาะอังกฤษนานเกือบศตวรรษออกไปด้วย ในปี 2559 เจ็ดปีที่แล้ว SAIC ผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของจีนได้ย้ายการผลิตโรงงาน MG จากโรงงาน MG ที่อังกฤษทั้งหมดไปที่นครเซี่ยงไฮ้แทน


ปัจจุบันนี้ รถยนต์ MG ที่กลับมาอีกครั้งในประเทศอังกฤษ ประกอบด้วยรถรุ่น MG-ZS, MG 5, MG HS PHEV คือเป็นรถปลั๊กอินไฮบริด

นอกจากนี้แล้ว MG ยังเตรียมเปิดตัวรุ่นใหม่ในอังกฤษอีกเพียบ ไม่ว่าจะเป็น MG 3, MG 4, MG 4 EV รวมไปจนถึงรถสปอร์ตไฟฟ้าสองประตู รุ่น MG Cyberster ด้วย ซึ่งคันหลังสุดมีคิวจะเปิดตัวในอังกฤษในช่วงฤดูร้อนปีหน้า คือ 2567


ทางด้านนี้ นายเอียน พลัมเมอร์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายของเว็บไซต์ขายรถยนต์ Auto Trader บอกว่า รถ MG กำลังได้รับความสนใจอย่างมากในอังกฤษ เพราะพวกเขามีรถพร้อมจำหน่าย อีกทั้งยังมีราคาที่เข้าถึงได้ง่าย ต้องจับตามองดูอย่างมากเลย เพราะรถไฟฟ้า MG ทำยอดขายแซงรถไฟฟ้าอย่าง Polestar รถ EV สัญชาติสวีเดน และ Tesla ไปแบบเงียบๆ คือมาแรงแซงโค้งแบบไม่รู้ตัวเลย

ท่านผู้ชมครับ ทั้งนี้ รถ MG ZSEV ถือเป็นหนึ่งในรถยนต์ไฟฟ้าราคาถูกที่สุดรุ่นหนึ่ง วางขายในตลาดอังกฤษด้วย ราคาเริ่มต้นประมาณ 3 หมื่นปอนด์ หรือ 1.3 ล้านบาท ซึ่งราคาก็ใกล้เคึยงกับประเทศไทย ทำให้รถรุ่นนี้ติดอันดับ 1 ใน 5 ของรถยนต์รุ่นที่ขายดีที่สุดบนเกาะอังกฤษ ในเดือนกันยายน 2566 ที่ผ่านมา

ผู้บริหารระดับสูงของอังกฤษที่เกี่ยวพันกับรถยนต์ ระบุว่า ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา เราได้เห็นแบรนด์รถยนต์จีน และรถยนต์อังกฤษในจีน จากแบรนด์อื่นๆ เข้าสู่ตลาดรถยนต์ในยุโรปของอังกฤษมากขึ้น และประสบความสำเร็จอย่างมาก รถยนต์จีนเหล่านี้ ส่วนใหญ่จะเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่มีความต้องการในตลาดสูง และก็มีการแข่งขันที่สูงมาก

ตัวเลขอย่างเป็นทางการในช่วงสามเดือนแรกของปีนี้ จีนกลายเป็นประเทศผู้ส่งออกรถยนต์มากกว่าล้านคันทั่วโลก แซงหน้าประเทศญี่ปุ่น ในฐานะผู้ส่งออกรถยนต์รายใหญ่ที่สุดของโลกไปเรียบร้อยแล้ว


นอกจากความต้องการรถยนต์ไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้นทั่วโลกแล้ว รถยนต์ส่งออกจีนยังได้รับแรงหนุนจากตลาดรัสเซีย ซึ่งถูกประเทศตะวันตกหลายประเทศคว่ำบาตรหลังสงครามในยูเครน

กันยายน 2566 นายริชี ซูแน็ก นายกรัฐมนตรีอังกฤษ ยืนยันกำหนดการในการห้ามจำหน่ายรถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล หรือรถสันดาป ไม่ว่าจะเป็นเบนซิน หรือดีเซลใหม่ ภายในปี 2578 หรืออีกประมาณสิบสองปีข้างหน้า คำประกาศดังกล่าวได้มีทั้งเสียงต้อนรับและคัดค้านจากผู้ผลิตรถยนต์ หลายรายเริ่มลงทุนอย่างมากในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้า

ถึงแม้ว่าการสั่งห้ามขายรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยสันดาปในอังกฤษจะถูกชะลอออกไปจากเดิมอีก 5 ปี เดิมทีจะยกเลิกในปี 2573 แต่เขาบวกเพิ่มอีก 5 ปี ให้เป็น 2578 แต่บริษัทผู้ผลิต/จำหน่ายรถยนต์ต่างๆ ก็ยังถูกบังคับให้ปฏิบัติตามกับระเบียบใหม่ที่เข้มงวด เริ่มต้นตั้งแต่ปีนี้ อย่างน้อย 1 ใน 5 หรือ 20 เปอร์เซ็นต์ ของจำนวนรถยนต์ที่จำหน่ายทั้งหมดของบริษัทรถต่างๆ นั้น จะต้องเป็นรถยนต์ไฟฟ้า

ท่านผู้ชมครับ ก่อนหน้านี้ กลางเดือนกันยายน ที่ผ่านมา สำนักข่าวต่างประเทศหลายแห่ง รายงานโดยอ้างอิงถ้อยแถลงของนางอัวร์ซูลา ฟ็อน แดร์ ไลเอิน ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป ว่า ทางสหภาพยุโรป เตรียมจะเริ่มสอบสวนการนำเข้ารถยนต์ไฟฟ้าจากจีน เพราะกังวลว่ารัฐบาลปักกิ่งอาจพยายามลดราคาสินค้าดังกล่าว เพื่อจะได้ส่งออกไปยุโรปจำนวนมาก หวังครอบงำตลาดรถไฟฟ้า EV ในภูมิภาคดังกล่าว


ในการสอบสวนครั้งนี้ ต้องถือว่าเป็นหนึ่งในคดีการค้าที่ใหญ่ที่สุด ท่ามกลางความพยายามของสหภาพยุโรปในการป้องกันไม่ให้เกิดเหตุการณ์ซ้ำรอยถึงสิ่งที่เกิดขึ้นกับอุตสาหกรรมพลังงานและแสงอาทิตย์ (Solar Energy) ในช่วงต้นปี 2553 ที่ผู้ผลิตเซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cells) ตัดราคาโดยการนำเข้าอุปกรณ์ราคาถูกจากจีนมาขายต่อ จนทำให้บริษัทที่ทำโซลาร์เซลล์ในยุโรปต้องล้มละลาย

ท่านผู้ชมจะเห็นได้ชัดว่า เวลานี้บริษัทรถยนต์จีน ซึ่งได้ชูเทคโนโลยีใหม่เรื่องรถยนต์ไฟฟ้าเป็นหัวหอก ไม่เพียงแต่ผลิตและจำหน่ายรถยนต์ของตัวเอง ได้เฉพาะประเทศจีน หรือประเทศกำลังพัฒนาอย่างประเทศไทย หรือประเทศเพื่อนบ้านอีกต่อไป แต่บริษัทรถยนต์จีน รถยนต์ไฟฟ้าจีน ได้รุกคืบไปอย่างประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศที่ร่ำรวยแล้ว ที่เห็นได้ชัดๆ ประเทศต่างๆ ในยุโรป ไม่ว่าจะเป็นอังกฤษ เยอรมนี ฝรั่งเศส เบลเยียม เนเธอร์แลนด์ สเปน รวมทั้งประเทศในทวีปอเมริกาเหนือด้วย ในการรุกคืบดังกล่าวได้สร้างแรงสั่นสะเทือนและความหวาดหวั่นให้กับบรรดาประเทศที่เคยเป็นเจ้าแห่งการผลิตรถยนต์ รวมถึงแบรนด์ต่างๆ ที่ภูมิอกภูมิใจว่าตัวเองเป็นหนึ่งในมหาอำนาจทางด้านเทคโนโลยียานยนต์ของโลกแต่ผู้เดียวด้วย

เราอย่าเพิ่งมาดูความสำเร็จของจีนในตอนนี้ ก่อนจะมีความสำเร็จแบบนี้ จีนต้องล้มลุกคลุกคลานมากมาตลอด จนกระทั่งถึงวันที่รถยนต์จีนบุกตลาดโลก

ท่านผู้ชมรู้หรือเปล่า เจ็ดสิบปีที่แล้ว ตอนที่พรรคคอมมิวนิสต์ได้รับชัยชนะ เข้าปกครองประเทศจีนได้สำเร็จ ประเทศจีนมีโรงงานรถยนต์แห่งแรกของจีน ถูกตั้งขึ้นในเมืองฉางชุน ในมณฑลจี๋หลิน ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือของจีน ผลิตรถยนต์ภายใต้ชื่อ "ธงแดง" หรือภาษาจีน รถคันนี้ชื่อว่า "หงฉี" แต่รถพวกนี้นำมาใช้ในงานภาครัฐ ผู้นำของรัฐ (รูป) รูปของเติ้ง เสี่ยวผิง ผู้นำจีนรุ่นที่ 2 บนรถหงฉี ระหว่างการเฉลิมฉลองวันชาติจีน เมื่อปี 2527


การปลุกปล้ำรถยนต์ธงแดง หงฉี ดำเนินการไปถึง 3 ทศวรรษ (30 ปี) จนกระทั่งเเติ้ง เสี่ยวผิง ประธานผู้บุกเบิกนโยบายการเปิดประเทศของจีน เล็งเห็นว่าการดันทุรัง ถือตัวในความสามารถตนเอง รังแต่จะทำให้ประเทศจีนถอยหลังเข้าคลอง เพราะเทคโนโลยีในการผลิตรถยนต์ของจีนในขณะนั้น แวดวงรถยนต์ในโลกนั้นถือว่าโบราณมาก

วันนี้ หงฉี มีการเกิดใหม่ จีนไม่เพียงแต่สร้างรถไฟฟ้าแบรนด์ใหม่ๆ ขึ้นมาแข่งกับตลาดโลก ยังนำเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ เข้ามาใส่ในแบรนด์รถยนต์ดั้งเดิมของตัวเองด้วย ท่านผู้ชมคงเคยเห็นผ่านตาบ้างแล้ว รถยนต์หงฉี รุ่น H9 ซึ่งเป็นรถยนต์หุ้มเกราะ ซึ่งประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีน ใช้ในการเยือนประเทศไทยเมื่อปีที่แล้ว ประมาณเดือนพฤศจิกายน 2565


ปัจจุบันนี้แบรนด์หงฉีได้ถูกวางตำแหน่งให้เป็นรถหรูหราในระดับเดียวกับรถยนต์หรูอังกฤษอย่างโรลส์รอยซ์ แล้วอยู่ภายใต้การดูแลของบริษัท FAW ซึ่้งเป็นบริษัทร่วมทุนกับโฟล์กสวาเกน ผู้ผลิตรถ Audi ในจีน และมีสำนักงานใหญ่ที่นครฉางชุน มณฑลจี๋หลิน ทางตะวันออกเฉียงเหนือของจีน

สำหรับรถยนต์หงฉี ที่สี จิ้นผิง มักจะใช้ระหว่างเดินทางไปต่างประเทศ เป็นเครื่องยนต์ V6 มี Super Turbo Charger, Direct Injection 3,000 ซีซี. 279 แรงม้า ทำความเร็วสูงสุดได้ที่ 245 กิโลเมตรต่อชั่วโมง การออกแบบเน้นความหรูหราสง่างาม โดยใช้บุคลากรที่มีชื่อมาก ชื่อ Giles Taylor ผู้เคยอยู่ทีมดีไซน์ของโรลส์รอยซ์มาก่อน ตอนนี้เขามานั่งตำแหน่งเป็น Global VP ของดีไซน์ และครีเอทีฟ ให้กับ FAW ตั้งแต่ปี 2555 แล้ว


หงฉี H9 ถือว่าเป็นรถยนต์ที่เรียกได้ว่าดีที่สุดในรถบรรดาที่ดีที่สุด Best of the Best เพราะต้องรองรับการใช้งานสำหรับผู้นำระดับโลก และแขกคนสำคัญของจีน ถ้าผมจำไม่ผิด ท่านนายกฯ เศรษฐา ไปที่จีน ก็มีรถยนต์ของฉี มารับ

นอกจากจะผลิตรถหรูหราให้กับผู้นำแล้ว ปัจจุบันหงฉีได้พัฒนารถยนต์ไฟฟ้าแบบหรูหราสุดๆ ขึ้นมา ยกตัวอย่างเช่น หงฉี EHS-9 เป็นรถต้นแบบที่นำไปโชว์ที่เยอระมนีเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (2562) แล้วเปิดตัวคันจริงที่ปักกิ่ง ออโต้โชว์ ในปีถัดมา คือ 2563

หงฉี EHS-9 เป็นรถไฟฟ้าด้วย SUV หรูหรา เต็มรูปแบบ ขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้าที่มีกำลังเทียบกับแรงม้าถึง 430 แรงม้า ทำอัตราเร็วเร่ง 0-100 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายใน 4.9 วินาที ชาร์จครั้งหนึ่ง วิ่งได้ไกลถึงเกือบ 500 กิโลเมตร ท่านผู้ชมรู้ไหมครับว่าราคาเท่าไร เขาเอามาแข่งกับโรลส์รอยซ์ ราคาเริ่มต้นอยู่ที่ 5 แสนหยวน ไปสู่ระดับท้อปเลย 730,000 หยวน 2.5 ล้านบาท ถึง 3.6 ล้านบาท ท่านผู้ชมครับ งานนี้โรลส์รอยซ์มีเหนื่อยแน่นอน


ด้วยเหตุนี้รัฐบาลจีนจึงมีนโยบายเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์แห่งชาติ เปิดโอกาสให้รถยนต์บริษัทต่างชาติเข้ามาร่วมทุนกับรัฐบาลจีนในลักษณะของบริษัทร่วมทุน

ตั้งแต่ช่วงแรกๆ ที่เติ้ง เสี่ยวผิง ประกาศนโยบายการเปิดประเทศจีนสู่ภายนอกในปี 2521 มีรถต่างชาติสัญชาติเยอรมัน คือ โฟล์กสวาเกน รีบตะครุบโอกานี้ไว้ เข้ามาเจรจากับรัฐบาลจีน เพราะโฟล์กฯ รู้ว่าการที่บริษัทของตัวเองสามารถต่อกรกับคู่แข่ง จากผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ของโลก อย่างอเมริกา ญี่ปุ่น จำเป็นต้องเข้ามายึดตลาดที่มีศักยภาพสูงให้ได้เสียก่อน

ในที่สุด ท่านผู้ชมรู้ไหม โฟล์กสวาเกนประสบความสำเร็จ เนื่องจากรัฐบาลจีนปัดข้อเสนอจากอเมริกา และญี่ปุ่น และเลือกโฟล์กฯ เข้ามาร่วมทุน ถือได้ว่าบริษัท โฟลก์สวาเกน เป็นบริษัทรายแรกที่ประเดิมเข้ามารุกในตลาดจีน


2527 สามสิบเก้าปีที่แล้ว นายเฮ็ลมูท โคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี เดินทางไปเยือนจีน ร่วมลงนามกับรัฐบาลจีนเพื่อลงนามในการก่อสร้างโรงงานผลิตรถยนต์โฟล์กฯ แห่งแรกขึ้นที่มหานครเซี่ยงไฮ้ ชื่อ SHANGHAI VOLKSWAGEN AUTOMOTIVE

เพียงหนึ่งปีต่อมา 2528 บริษัท SHANGHAI VOLKSWAGEN AUTOMOTIVE ผลิตรถยนต์โฟลก์สวาเกนรุ่น SANTANA ออกมาเป็นสินค้าหลัก จากการผูกขาดของโฟล์กฯ ในการผลิตรถป้อนตลาดจีนนั้น มีตัวเลขระบุว่า ช่วงกลางถึงปลายทศวรรษที่ 1980 หากนับรถยนต์ที่วิ่งบนท้องถนนสิบคัน อย่างน้อยต้องมีรถโฟล์กฯ ตั้ง 8 คัน


ด้วยข้อได้เปรียบในฐานะผู้มาเจ้าแรกในตลาดรถยนต์จีน โฟล์กฯ ไม่ได้หยุดเพียงแค่นี้ กุมภาพันธ์ 2534 คือเจ็ดปีต่อมา โฟล์กฯ จับมือกับบริษัทร่วมชาติเยอรมัน ชื่อ Audi AG รัฐบาลก็เลยตั้งบริษัทร่วมทุน ชื่อ FAW Volkswagen ที่เมืองฉางชุน มณฑลจี๋หลิน เป้าหมายคือผลิตรถยนต์ระดับหรูหราภายใต้ชื่อรถยนต์ Audi และโฟล์กสวาเกน บางรุ่น

แม้ว่าในช่วงเวลาต่อมา รัฐบาลจีนจะเปิดภาคอุตสาหกรรมรถยนต์กว้างขึ้นอย่างมาก อนุญาตบริษัทต่างๆ ของประเทศอเมริกา ญี่ปุ่น ฝรั่งเศส เยอรมนี เกาหลีใต้ อย่างเช่น General Motors, ฟอร์ด, โตโยต้า, ซีตรอง, BMW, ฮุนได เข้ามาร่วมทุนกับบริษัทภายในประเทศเพิ่มเติม แต่อิทธิพลของโฟล์กสวาเกนได้ฝังรากหยั่งลึกลงในตลาดจีนมาหลายทศวรรษ ก็ยังคงอยู่

ผมเดินทางไปจีนเมื่อสามสิบกว่าปีที่แล้ว เกือบสี่สิบปี บนถนน ผมจำได้ มีอยู่ รถโฟล์ก รุ่น SANTANA รถยนต์ส่วนบุคคลยังมีน้อย ส่วนรถแท็กซี่ก็ใช้รถ SANTANA ต่อมาช่วงต้น ค.ศ. 2000 รถหรูหราที่บรรดาผู้นำพรรคในรัฐบาลจีนใช้ก็คือรถ Audi ส่วนใหญ่จะเป็นรถ Audi A6 สีดำ เกือบทั้งหมด แทบไม่มีรถยี่ห้ออื่นเลย รวมไปจนถึงรถที่โรงแรมต่างๆ ชั้นหนึ่งในจีนมีเอาไว้สำหรับต้อนรับหรือสำหรับแขกต่างชาติใช้ ก็เป็น Audi A6


ด้วยเหตุนี้ประมาณยี่สิบปีที่แล้ว ในช่วงต้นของ ค.ศ. 2000 โฟลก์สวาเกนครองส่วนแบ่งตลาดขายรถยนต์ในประเทศจีนได้มากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ เลยทีเดียว ไม่ใช่น้อยเลยนะท่านผู้ชม ลองนึกดูแล้วกัน ประชากรจีนมีพันกว่าล้านคน ด้วยเหตุนี้ในส่วนของคนจีนในอดีตก็นิยมซื้อรถยี่ห้อต่างประเทศ เพราะมองว่าคุณภาพดีกว่า ทนทานกว่า ดีไซน์สวยกว่า ตรงกันข้ามกับวันนี้เลยที่คนจีนหันมาซื้อรถยนต์แบรนด์ประเทศตัวเองมากขึ้น ทำให้รถยนต์แบรนด์จีนทุกวันนี้ยึดถือ ครองตลาดไปกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ไปแล้ว

คำถามสำคัญ จุดเปลี่ยนในเรื่องนี้อยู่ที่ไหน ? จุดเปลี่ยนในเรื่องนี้ คำตอบคือการเข้ามาของเทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า หรือ EV นั่นเอง

จีนนั้นรู้ดีว่าตัวเองไม่สามารถสร้างแบรนด์รถยนต์ที่ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์สันดาปภายในแข่งกับบริษัทต่างประเทศที่เขามีความเชี่ยวชาญ ไม่ว่าจะเป็นเยอรมนี อเมริกา ญี่ปุ่น หรือเกาหลีใต้ เพราะเขามีประสบการณ์การผลิตที่ยาวนานกว่า ตั้งแต่ต้นทศวรรษที่ 21 จีนก็เลยซุ่มวางแผนการพัฒนาอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้ามาอย่างเงียบๆ โดยหวังว่ารถยนต์ไฟฟ้าจะมาแทนที่รถถยนต์พลังงานฟอสซิล

ในยุคของผู้นำรุ่นที่ 4 ประธานาธิบดีหู จิ่นเทา นายกรัฐมนตรีเหวิน เจียเป่า บุคคลที่มีส่วนในการผลักดันอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าอย่างมากก็คือรัฐมนตรีด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีของจีน ชื่อนายว่าน กัง เขาดำรงตำแหน่งนี้อย่างยาวนาน ตั้งแต่ปี 2550-2561 สิบเอ็ดปี จากยุคประธานาธิบดีหู จิ่นเทา มาจนถึงยุคประธานาธิบดีสี จิ้นผิง


ว่าน กัง มีพื้นฐานการศึกษาด้านวิศวฯ เครื่องกล ทั้งยังจบปริญญาเอกวิศวกรรมเครื่องกล ที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีครอสทัล ในเยอรมนี มองเห็นโอกาสทองดังกล่าว เขาเร่งผลักดันให้รัฐบาลจีนพัฒนาอุตสาหกรรมรถไฟฟ้าและห่วงโซ่การผลิตรถยนต์ไฟฟ้าที่ครบวงจรขึ้นมาภายในประเทศ ด้วยการผลักดันอย่างเต็มที่ของว่าน กัง รัฐบาลและผู้นำจีนในช่วงเวลาสิบกว่าปีที่ผ่านมา เกือบยี่สิบปี แม้ว่าอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าของจีนจะล้มลุกคลุกคลานมาหลายปี ตั้งแต่ปี 2552 สิบสี่ปีที่แล้ว จนถึงปี 2558 หลายบริษัท EV ไม่สามารถลืมตาอ้าปากได้ เพราะว่าถูกมองจากภาพสังคมว่าเป็นยานยนต์คุณภาพต่ำ รถยนต์ราคาถูก

ท่านผู้ชมรู้จัก BYD ดีใช่ไหมครับตอนนี้ ในเวลานั้น BYD ยังถูกมองว่าเป็นบริษัทที่ผลิตแบตเตอรี่เป็นหลัก ส่วนรถยนต์ที่ BYD ผลิตออกมานั้น ถือว่าเป็นรถยนต์ราคาถูก คุณภาพไม่ค่อยดี ขนาดนายวอร์เรน บัฟเฟตต์ มหาเศรษฐีชาวอเมริกัน เจ้าของบริษัท เบิร์กเชียร์ ฮาธาเวย์ ซึ่งเคยถือหุ้น BYD ในตอนเริ่มต้น ไม่มีความมั่นใจในอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าจีน ถึงกับขายหุ้นตัวเองทิ้งไปตอนนั้น มาวันนี้ นายวอร์เรน บัฟเฟตต์ คงจะเจ็บช้ำน้ำใจที่สุด เพราะ BYD เป็นบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าที่ยอดขายในโลกนี้สูงกว่าทุกๆ ยี่ห้อ และกำไรมาอย่างมากมายมหาศาล

อย่างไรก็ตาม ผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าในโลกย่อมหนีไม่พ้นเทสล่า ของอีลอน มัสก์ เมื่อวิเคราะห์จุดอ่อน-จุดแข็ง ข้อได้เปรียบ-เสียเปรียบ อุตสาหกรรมรถ EV ของตัวเองแล้ว และของบริษัท EV ชั้นนำของโลก จีนมีนโยบายที่ลึกซึ้งมาก เปิดประตูให้เทสล่าเข้ามาตั้งโรงงานที่เซี่ยงไฮ้


(รูป) อีลอน มัสก์ นายอิง หย่ง นายกเทศมนตรีเซี่ยงไฮ้ เปิดโรงงานผลิตรถยนต์ไฟฟ้าเทสล่า มูลค่า 7 หมื่นกว่าล้านบาท ที่ชานกรุงเซี่ยงไฮ้

ก่อนหน้านี้ ไม่เคยมีใครคิดเลยว่ารัฐบาลพรรคคอมมิวนิสต์ของจีนจะเปิดให้บริษัทรถต่างชาติมาใช้จีนเป็นฐานการผลิตใหญ่ ถือหุ้น 100 เปอร์เซ็นต์ เพื่อจะเจาะตลาดอันใหญ่โตมโหฬารของตัวเองอีกครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งบริษัทดังกล่าวนั้นเป็นบริษัทรถยนต์จากอเมริกา แต่ความล้ำลึกในนโยบายนี้จากบริษัทรัฐบาลจีนมีมาก คือข้อแรก จีนรู้ว่าเทสล่าเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าของโลก โดยมีเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าที่สุด เทสล่าสามารถจะควบคุมต้นทุนในการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าได้ต่ำกว่าใคร แต่กลับสามารถวางตำแหน่งแบรนด์ตัวเองเป็นแบรนด์รถยนต์ระดับพรีเมียมได้

เทสล่า เป็นดาวรุ่งในแวดวงรถยนต์ ด้วยวิธีคิดของมัสก์ ในการ disrupt ห่วงโซ่การผลิต การขาย การทำการตลาดรถยนต์ด้วยวิธีใหม่ ผลักดันให้เทสล่ากลายเป็นบริษัทรถยนต์ที่มีมูลค่าสูงที่สุดในโลก


ท่านผู้ชมครับ เทสล่าไม่เพียงเข้ามาแข่งขันกับรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ท้องถิ่นจีน แต่ยังเข้ามายกระดับบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าของจีน รวมทั้งยกระดับห่วงโซ่การผลิตชิ้นส่วนต่างๆ และช่องทางจัดจำหน่ายรถยนต์ไฟฟ้าของจีนด้วย นี่คือประเด็นสำคัญที่รัฐบาลจีนเปิดให้เทสล่าเข้ามาตั้งโรงงานในจีนเมื่อหลายปีก่อน เพราะจีนรู้ดีว่าการเข้ามาของเทสล่านั้นจะช่วยยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้าของจีนให้ก้าวสู่ระดับโลกในระยะเวลาอันสั้น

เพราะถ้าผู้ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ EV ให้ท้องถิ่นของจีนสามารถผลิตชิ้นส่วนที่ได้ตามมาตรฐานของเทสล่า เพราะเทสล่าใช้ชิ้นส่วนภายใน บริษัทเหล่านี้ก็สามารถจะผลิตชิ้นส่วนที่มีมาตรฐานเช่นเดียวกันป้อนให้กับบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าแบรนด์ต่างๆ ของจีนได้เช่นกัน เพราะฉะนั้นแล้ว ชิ้นส่วนต่างๆ ในรถยนต์ EV ของจีนนั้น ผลิตมาจากบริษัทที่ผลิตให้เทสล่าด้วย คุณภาพเหมือนกันหมดเลย และนี่คือความลึกล้ำของนโยบายจีน ซี่งนี่ก็เป็นความจริง เพราะหลังจากเทสล่าเเริ่มผลิตรถไฟฟ้าจากโรงงานในช่วงปลายปี 2562 เป็นระยะเวลา 2-3 ปี แค่ 2-3 ปีเอง จีนก้าวกระโดดขึ้นมาเป็นผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของโลก ทั้งยังเป็นรถยนต์ไฟฟ้าที่โลกยอมรับ


ปัจจุบันนี้ BYD สามารถแซงเทสล่า กลายเป็นแบรนด์ผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าอันดับหนึ่งของโลกไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ส่วนคนที่เจ็บตัวหนักที่สุดคือรถโฟล์ก โฟลก์สวาเกน

โฟล์กสวาเกน เคยครองตลาดจีนมาตั้งนานแล้ว เมื่อโลกเทคโนโลยีพลิกผัน โฟลก์สวาเกน ก็ต้องเผชิญชะตากรรมที่พลิกผันเช่นกัน ในขณะที่ชาวจีนเปลี่ยนผ่านจากรถยนต์ใช้พลังงานฟอสซิล ไปสู่รถยนต์ที่ใช้พลังงานไฟฟ้า ที่บริษัทจีนหลายสิบบริษัทกำลังพัฒนา ก้าวขึ้นมาจนสามารถผลิตรถยนต์และยานยนต์ที่มีมาตรฐานทัดเทียมกับฝั่งยุโรปและอเมริกาได้แล้ว

ความยากลำบากของโฟลก์สวาเกนกำลังเผชิญในตลาดจีน คือ โฟลก์สวาเกนจำเป็นต้องใช้สงครามราคา ตัดลดราคาขายรถของตัวเองในจีนลงอย่างมาก ผมยกตัวอย่างให้ฟัง รถโฟลก์สวาเกน รุ่น ID.3 ที่วางขายในเยอรมนี ราคา 35,000 ดอลลาร์ 1.2 ล้านบาท แต่รถรุ่นเดียวกันที่ขายในประเทศจีน ตัดราคาลงเหลือแค่ 16,000 ดอลลาร์ หรือ 600,000 บาทเท่านั้น ลดไปครึ่งหนึ่ง


รถรุ่นเดียวกัน ขายที่เยอรมนี 1.2 ล้าน ขายที่จีน รถโฟล์ก 600,000 บาท เพราะกำลังเผชิญการแข่งขันอย่างหนักหน่วงจากรถแบรนด์จีน ทำให้ยอดขายรถโฟล์ก เคยขายได้ปีละ 4 ล้านคัน ลดลงเหลือแค่ 3.2 ล้านคัน ในปีที่แล้ว

ขณะที่บรรดาผู้ซื้อรถและนักวิจารณ์รถ ต่างถล่มยับว่าเทคโนโลยีรถไฟฟ้าจากเยอรมนีสู้จีนไม่ได้เลย ซอฟต์แวร์ของโฟลก์สวาเกนก็ช้า หน่วงมาก เวลาอัปเดตเวอร์ชันใหม่ต้องไปทำที่ศูนย์ เปรียบเทียบรถไฟฟ้าของจีน สามารถอัปเดตซอฟต์แวร์ทางออนไลน์ได้ แถมยังมีระบบคาราโอเกะ ให้ผู้โดยสารในรถไฟฟ้าจีนเอนจอยได้ ร้องคาราโอเกะในรถได้

เมื่อไม่สามารถแข่งขันทางเทคโนโลยีกับรถยนต์แบรนด์จีนได้ ความนิยมของคนจีนต่อแบรนด์ก็ลดน้อยถอยลง ทางเลือกเดียวของโฟลก์สวาเกนที่มี่เหลืออยู่ คือลดราคา แต่ไม่ได้ช่วยกอบกู้สถานการณ์ได้มากนัก สัดส่วนของรถโฟล์กที่เคยมีอยู่ในประเทศจีนมากถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ในช่วงต้นทศวรรษที่ 2000 ถดถอยลงไปเรื่อยๆ มาวันนี้ ปี 2565 ที่ผ่านมา สัดส่วน 50 เปอร์เซ็นต์ ที่โฟลก์เคยยึดตลาดจีนอยู่ ลดเหลือเพียง 11.4 เปอร์เซ็นต์

ทั้งนี้ ในช่วงครึ่งปีแรกของปีนี้ รถยนต์ที่ขายดีที่สุด 3 อันดับแรกในประเทศจีน หนึ่งคือ BYD ครองส่วนแบ่งตลาด 11.6 เปอร์เซ็นต์ โฟลก์สวาเกน 10.1 เปอร์เซ็นต์ และโตโยต้าของญี่ปุ่น มีส่วนแบ่งเหลือเพียง 8.3 เปอร์เซ็นต์


ท่านผู้ชมครับ ไม่เพียงแต่รถไฟฟ้าของจีนเองที่สามารถยึดครองตลาดในประเทศได้ แต่ยังรุกไปตลาดต่างประเทศด้วย รวมทั้งตลาดยุโรปที่ผมเล่าให้ฟังมาแล้วตอนต้น ในอังกฤษ ส่วนยุโรปนั้นเกิดอะไรขึ้น ? ช็อกกันทั้งทวีปเลยครับ อียู ไม่เคยคาดคิดว่ารถยนต์จีนจะตีตลาดได้ เพราะว่ายุโรปนั้น รถยนต์ที่มีชื่อก็คือโฟลก์สวาเกน BMW เบนซ์ ฝรั่งเศสก็คือซีตรอง

นอกจากรถยนต์ญี่ปุ่นในบ้านเรากำลังถูกโหมกระหน่ำจากรถยนต์ไฟฟ้าของจีน แม้แต่ในยุโรป ซึ่งเป็นเมืองหลวงแห่งยานยนต์ กำลังจะสั่นคลอน พิสูจน์ได้จากการที่นายกรัฐมนตรีเยอรมนี นายโอลัฟ ช็อลทซ์ ได้กล่าวในการเปิดงาน IAA Mobility 2023 ที่เมืองมิวนิก

เมืองมิวนิกนั้นเป็นเมืองศูนย์กลางในการผลิตรถยนต์ของเยอรมนี ว่าผู้ผลิตรถยนต์ของเยอรมนียอมรับการแข่งขันจากคู่แข่งในเอเชียโดยไม่ต้องกังวลจากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าจีน


4 กันยายน ที่ผ่านมา นายช็อลทซ์ นายกรัฐมนตรีเยอรมนี กล่าวขณะเข้าร่วมพิธีเปิดงาน ชื่อการแข่งขันควรผลักดันเรา ไม่ใช่ทำให้เราหวาดกลัว บอกว่าในช่วงหลายทศวรรษที่ผ่านมา อุตสาหกรรมยานยนต์ของเยอรมนีต้องแข่งขันกับญี่ปุ่น และเกาหลีใต้ ตามลำดับ ปัจจุบันเขายอมรับว่ารถไฟฟ้าจากจีนจะเป็นตัวขับเคลื่อนนวัตกรรมให้กับบริษัทรถยนต์ในเยอรมนีได้

ท่านผู้ชมครับ 2-3 ปีก่อน แทบไม่มีใครคาดคิดว่าสักวันหนึ่งบริษัทรถยนต์จีนจะทำให้ผู้ผลิตรถยนต์ในเยอรมนีมีความกังวล ในช่วงเวลานั้นชาวต่างชาติส่วนใหญ่ไม่รู้จักแบรนด์รถยนต์จีน ยกเว้นนักวิเคราะห์ที่อยู่ในแวดวงอุตสาหกรรมยานยนต์ในโลกตะวันตก ตอนนี้จีนกลายเป็นประเทศผู้นำด้านรถยนต์ไฟฟ้า ได้รับการยอมรับจากทั่วโลก รถยนต์ไฟฟ้าจีนนับวันได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในตลาดยุโรป ข้อมูลของบริษัท อินโนเวฟ บริษัทปรึกษาด้านวิเคราะห์ตลาดรถยนต์ ระบุว่า ในปี 2566 รถยนต์แบรนด์จีนคิดเป็น 8 เปอร์เซ็นต์ ของรถยนต์ที่ขายใหม่ในยุโรป เรื่องใหญ่แล้วนะท่านผู้ชม เพิ่มจาก 6 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่แล้ว และเพิ่มจาก 4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2564

แม้รถยนต์แบรนด์จีนจะมีส่วนแบ่งทางการตลาดเพียงแค่หลักเดียวแบบนี้ แต่ทำให้ค่ายรถยนต์ในยุโรปนั่งไม่ติด เพราะในความเป็นจริงคือการพัฒนารถยนต์แบรนด์จีน ทำให้ยุโรปได้ประโยชน์ เช่นเดียวกับรถยนต์จีนหลายราย ศูนย์วิจัยในยุโรปร่วมมือกับซัปพลายเออร์ที่สำคัญหลายราย


ท่านผู้ชมครับ บริษัท Bosch ซัปพลายอันดับหนึ่งของโลกในอุตสาหกรรมยานยนต์จากเยอรมนี ประกาศชัดเจนเลยว่ายินดีสนับสนุนบริษัทรถยนต์จีนสร้างโรงงานเพื่อทำการผลิตในประเทศที่เป็นตลาดเป้าหมาย

ส่วนบริษัท SIXT บริษัทให้เช่ารถสัญชาติเยอรมัน ประกาศเมื่อเดือนตุลาคม ปีที่แล้ว จะมีการร่วมมือระยะยาวกับบริษัท BYD ผู้ผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ชั้นนำของจีน เขาจะสั่งซื้อรถยนต์พลังงานใหม่จากบริษัท BYD จำนวน 1 แสนคัน เอามาทำเป็นรถเช่าในปี 2571


ท่านผู้ชมครับ จีน และยุโรป มีประวัติความร่วมมือในอุตสาหกรรมยานยนต์มายาวนาน ด้วยการก่อตั้งบริษัทร่วมทุนในจีน รวมทั้งการส่งออกรถยนต์แบรนด์ดังยุโรป เช่น โฟล์กสวาเกน ซีตรอง วอลโว่ BMW ไปขายในจีน จนได้รับความนิยมจากผู้บริโภคชาวจีนจำนวนมาก แต่ตลกร้าย ยุโรปมาบุกจีน ขายรถยนยต์ในจีนจนได้รับความนิยมมาก แต่พอถึงเวลาวันนี้ รถยนต์จีนเข้าบุกตลาดยุโรปบ้าง ยุโรปยอมรับไม่ได้ นี่คือนิสัยใจคอของฝรั่ง

ผมเล่าให้ฟังไปแล้ว คณะกรรมาธิการยุโรปได้เริ่มตรวจสอบว่าบริษัทรถยนต์ไฟฟ้าจากจีนได้รับเงินสนับสนุนจากรัฐ จึงขายได้ราคาถูก จนแย่งตลาดรถยนต์ยุโรป ท่ามกลางการวิพากษ์วิจารณ์ว่าการตัดสินใจของสหภาพยุโรปสะท้อนให้เห็นถึงความหวาดกลัวของคนยุโรปบางคนที่มีการแข่งขันในตลาดอย่างยุติธรรม คณะกรรมาธิการยุโรปนั้นไม่ต่างจากอเมริกา ที่อ้างหลักแข่งขันทางการค้าเมื่อตัวเองได้เปรียบเท่านั้น แต่พอตัวเองเสียเปรียบก็ฉีกหลักการทิ้ง แล้วหันไปใช้มาตรการกีดกัน คว่ำบาตร เพื่อทำลายคู่แข่ง ท่านผู้ชมครับ นี่คือนิสัยฝรั่ง ผมเอข้อเท็จจริงมาเปิดเผยให้ดูว่าฝรั่งเป็นคนอย่างนี้จริงๆ

เอาล่ะ ท่านผู้ชมครับ ผมได้พูดถึงรถไฟฟ้าตัวเปลี่ยนเกม จริงๆ แล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ของประเทศจีน โลกของเราได้ผ่านการปฏิวัติอุตสาหกรรมมา 3 ครั้ง แต่ละครั้งจะเชื่อมโยงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างนวัตกรรม เช่น ยุคแรกคือเครื่องจักรไอน้ำ การใช้พลังงานไฟฟ้า ก๊าซ น้ำมัน คอมพิวเตอร์ ปัจจุบันนี้เรากำลังอยู่ในช่วงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ซึ่งใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเข้ามาผสมกับโลกการผลิต เชื่อมโยงกับเครือข่ายของ IoT (Internet of Things) รวมไปถึงการใช้ระบบปัญญาประดิษฐ์ (AI) หรือ Machine Learning

การปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ไม่ได้วัดกันว่าใครผลิตของได้มากกว่า ผลิตได้เร็ว แต่วัดกันที่เทคโนโลยีว่า ผู้ที่ครอบครองเทคโนโลยีคือผู้ที่ครองโลก และนี่คือเหตุผลที่ว่าอเมริกาและชาติตะวันตกต้องใช้มาตรการปิดล้อมทางเทคโนโลยีต่อจีนเพื่อรักษาสถานภาพของเจ้าโลกต่อไป ส่วนฝ่ายจีนนั้นรู้อยู่แล้วว่าจำเป็นต้องมีเอกราชทางเทคโนโลยี จะไปพึ่งพาตะวันตกไม่ได้ คือต้องพึ่งพาตัวเองทางเทคโนโลยีได้ และก้าวต่อไปของจีน คือ จีนกำลังจะเลิกทำตัวเป็นโรงงานของโลก จีนจะเปลี่ยนการขายของ สินค้า หันมาขายเทคโนโลยี ซึ่งจีนได้พิสูจน์แล้วจากรถยนต์ไฟฟ้า โดยจีนจะพัฒนาอุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าให้เป็น หนึ่ง สปริงบอร์ดทางเทคโนโลยี สอง ลดการพึ่งพาการนำเข้าเชื้อเพลิงฟอสซิล ซึ่งผูกพันกับเปโตรดอลลาร์ สาม เป็นตัวขับเคลื่อนด้านสิ่งแวดล้อมตามคำมั่นสัญญาในเรื่องของการลดการปล่อยคาร์บอน และบรรลุความเป็นกลางของคาร์บอน


ทำไมจีนถึงยึดตลาดรถยนต์ไฟฟ้าได้ ? ประการแรก จีนไม่ต้องห่วงหน้าพะวงหลัง ค่ายรถยนต์ส่วนใหญ่ในโลกนี้ไม่สามารถเปลี่ยนผ่านการผลิตรถยนต์พลังงานไฟฟ้าได้ หรือทำได้ล่าช้า ไม่ได้ติดขัดในเรื่องศักยภาพในเทคโนโลยี แต่ดันไปติดขัดเรื่องที่มีคู่ค้ามากมาย ผู้ผลิตอะไหล่ ชิ้นส่วนนับพันนับหมื่นรายที่เกี่ยวข้องกับการผลิตรถยนต์สันดาป 1 คัน

ผู้บริหารบริษัทโตโยต้า สูงสุด เคยพูดว่า ถ้าโตโยต้าเลิกผลิตรถยนต์สันดาปในวันนี้ บรรดาซัปพลายเออร์และคู่ค้าที่ร่วมกันมาตั้ง 40-50 ปี จะทำอย่างไร ? และนี่คือเหตุผลที่นายกฯ เศรษฐา ทวีสิน พูดว่า ต้องไม่ลืมบุญคุณญี่ปุ่น ขอให้ไทยเป็นศูนย์กลางสุดท้ายของรถยนต์สันดาป ก็คือพูดง่ายๆ ว่า เอาบุญคุณมาอ้างอิงเพื่อที่จะทำให้การพัฒนานของประเทศช้าลงไปอีก

แต่ว่าอุตสาหกรรมของจีนนั้นเริ่มจากศูนย์ จีนไม่ได้มียี่ปั๊ว ซาปั๊ว ที่เป็นเชียงกงขายอะไหล่กระโดดออกมาผลิตรถยนต์พลังงานใหม่ จึงทำได้ไม่ยาก

ประการต่อมา จีนไม่ได้ถูกกลุ่มทุนพลังงานครอบงำ สาเหตุหนึ่งที่บรรดาชาติอุตสาหกรรมต้องการยื้ออุตสาหกรรมรถยนต์สันดาป เพราะกลุ่มทุนพลังงานที่ล็อบบี้ทั้งฝ่ายการเมือง ทั้งอเมริกา ญี่ปุ่น ยุโรป แม้กระทั่งในประเทศไทยที่ตั้งเป้าหมายคาร์บอนเป็นศูนย์ จะยกเลิกการจำหน่ายรถยนต์สันดาป แต่สุดท้ายมักจะกลืนน้ำลายตัวเองแล้วบอกว่าต้องทบทวนกันใหม่ ในประเทศจีนไม่มีกลุ่มทุนพลังงาน เพราะบริษัทพลังงานเป็นรัฐวิสาหกิจทั้งหมด จึงต้องทำตามนโยบายของรัฐ

ประการที่สาม จีนมีเทคโนโลยีและมีห่วงโซ่อุปทาน (Supply chain) ของตัวเอง รถยนต์สันดาปคันหนึ่งต้องใช้อะไหล่นับพันชิ้น แต่รถยนต์ไฟฟ้ามีองค์ประกอบแค่ 3 องค์ประกอบสำคัญ เป็นกุญแจทางเทคโนโลยี คือมีแบตเตอรี่ ไมโครชิป และระบบปฏิบัติการ ซึ่ง ณ วันนี้ทั้ง 3 อย่างนี้ จีนล้วนแล้วแต่สามารถพึ่งพาตัวเองได้ทั้งสิ้น ท่านผู้ชมจำได้ไหมที่ผมเคยเล่าให้ฟังเรื่องหัวเว่ย ที่พัฒนาระบบ HarmonyOS ขึ้นมา และหัวเว่ยพูดชัดเจนว่า HarmonyOS นั้นไม่ใช่ใช้เฉพาะในโทรศัพท์มือถือเท่านั้น เพราะ HarmonyOS คือระบบที่เหนือกว่า Android หัวเว่ยต้องการเอา HarmonyOS บรรจุลงไปในรถยนต์ไฟฟ้าทุกคันในประเทศจีน และในที่สุด แทบจะทุกคันในโลกนี้ด้วย


ข้อที่หนึ่ง แบตเตอรี่ ผู้ผลิตรถ EV ในจีนสามารถผลิตแบตเตอรี่ได้ต้นทุนต่ำกว่าผู้ผลิตรายอื่นทั่วโลก เพราะประเทศจีนเป็นฐานการผลิตแบตเตอรี่ ซึ่งเป็นหัวใจธุรกิจของ EV เพราะแบตเตอรี่นั้นถือเป็นต้นทุน 40 เปอร์เซ็นต์ ของต้นทุนรถ EV ทั้งคัน ในเรื่องวัตถุดิบสำหรับผลิตแบตเตอรี่ จีนมีกำลังผลิตลิเทียมกว่า 46 เปอร์เซ็นต์ จากเหมืองลิเทียมทั่วโลก

การที่บริษัท เทียนฉี ลิเทียม ของจีนเข้าเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่บริษัทลิเทียมของออสเตรเลีย แร่ชิ้นหนึ่งที่ใช้ในการผลิตแบตเตอรี่ คือโคบอลต์ ซึ่งจีนก็เป็นรายใหญ่เช่นกัน เพราะโคบอลต์กว่า 70 เปอร์เซ็นต์ของโลก มาจากเหมืองแร่ในคองโกที่จีนเป็นผู้ถือสัมปทานใหญ่อยู่

จากการครอบครองวัตถุดิบจำนวนมาก ทำให้จีนได้เปรียบด้านวัตถุดิบสำหรับผลิตแบตเตอรี่มากกว่าประเทศผู้ผลิตรถ EV อย่างยุโรป และอเมริกา รวมทั้งนโยบายรัฐบาลจีนที่สนับสนุนให้บริษัทต่างๆ พัฒนาระบบแบตเตอรี่ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

ปัจจุบันจีนมีกำลังผลิตแบตเตอรี่มากถึง 558 ล้านกิโลวัตต์ ปกติแล้วรถ EV 1 คัน จะใช้ขนาดแบตเตอรี่เฉลี่ยที่ 60 กิโลวัตต์ หมายความว่าจีนมีกำลังผลิตแบตเตอรี่สำหรับรองรับ EV ได้มากถึง 9 ล้านกว่าคันต่อปี เกือบสิบล้านคันต่อปี ทุกวันนี้จีนผลิตรถและขายออกมาได้ ผลิตรถมาปีละล้านกว่าคัน กำลังแบตเตอรี่ที่จีนมีเหลืออยู่นั้น ผลิตได้อีก 9 เท่าของยอดผลิตที่ผลิตออกมานี้ ขณะที่ประเทศที่มีกำลังการผลิตอันดับสองอย่างอเมริกา มีกำลังการผลิตแบตเตอรี่เพียง 44 ล้านกิโลวัตต์ น้อยกว่าจีนสิบเท่า ทำให้อเมริกาต้องพึ่งพาการนำเข้าแบตเตอรี่จากจีน บริษัท CATL ชื่อ Contemporary Amperex Technology ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมของจีน เป็นรายใหญ่ที่สุดในโลก มีส่วนแบ่งในตลาด 37 เปอร์เซ็นต์ ในปีที่ผ่านมา ครองอันดับหนึ่งของโลก 6 ปีติดต่อกัน ทิ้งห่างอันดับสอง คือ LG Energy Solution ของเกาหลีใต้ ซึ่งมีส่วนแบ่งตลาดแค่ 14.4 เปอร์เซ็นต์


ผู้ผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนอันดับสาม คือ BYD ซึ่งเป็นบริษัทรถ EV ของจีน ที่เขาได้พัฒนาแบตเตอรี่ของตัวเอง และมีส่วนแบ่งการตลาดอยู่ถึง 11.8 เปอร์เซ็นต์ เกือบๆ เท่ากับของเกาหลี คือ LG

ด้วยส่วนแบ่งการตลาด ทั้ง CATL และ BYD รวมกันกว่า 46.6 เปอร์เซ็นต์ ทำให้รถ EV ที่ผลิตอยู่ในโลกนี้ล้วนจำเป็นต้องพึ่งพาแบตเตอรี่จากประเทศจีน

ข้อที่สอง สำคัญมาก ไมโครชิปที่หัวเว่ยเปิดตัวสมาร์ทโฟน เมท 60 โปร ใช้ชิปขนาด 7 นาโนมิเตอร์ ที่จีนผลิตได้เอง ได้เจาะรูมาตรการการคว่ำบาตรทางเทคโนโลยีของสหรัฐฯ หลังจากนี้จีนจะไม่เผชิญกับการขาดแคลนไมโครชิปอีกแล้ว เพราะรถยนต์ไฟฟ้าใช้ไมโครชิปที่มีขนาดใหญ่กว่าไมโครชิปของสมาร์ทโฟน

สาม ระบบปฏิบัติการที่ผมพูดไปแล้ว ซอฟต์แวร์เป็นหัวใจในการขับเคลื่อนรถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฟฟ้าแม้แต่ค่ายใหญ่ๆ อย่างเมอร์ซิเดสเบนซ์ โตโยต้า เทสล่า เคยต้องเรียกคืนรถยนต์เป็นล้านๆ คัน เพราะปัญหาซอฟต์แวร์ไม่เสถียร ขณะที่จีนได้เปรียบด้านเทคโนโลยี AI และการสื่อสารความเร็วสูง ทำให้การพัฒนาซอฟต์แวร์ของจีนได้เปรียบไปด้วย เนื่องจากประสิทธิภาพสูงกว่า และลูกเล่นที่ตอบสนองผู้บริโภคได้มากกว่า

ผมยกตัวอย่างไปแล้วในสัปดาห์ที่แล้ว ระบบ AI ที่พัฒนาโดยบริษัท เซนส์ไทม์ นำมาใช้ในเทศกาลเอเชียนเกมส์ที่หางโจว ได้แสดงให้เห็นว่าจีนสามารถพัฒนาระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติ เลเวล 4 คือเป็นคุณสมบัติอัตโนมัติระดับสูง หมายความว่ารถยนต์ขับเคลื่อนได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ สามารถควบคุมความเร็ว การเลี้ยวในทางที่คดเคี้ยว เร่งความเร็ว สามารถรับรู้เหตุการณ์ไม่ปกติและป้องกันได้อย่างทันท่วงที เช่น มีคนเดินตัดหน้ารถ หรือมีรถคันอื่นวิ่งย้อนศร ผู้ขับขี่แทบจะไม่ต้องควบคุมรถเลย

ทั้งนี้ ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเลเวล 4 เป็นระดับรองจากระดับสูงที่สุด คือเลเวล 5 Full Automation คือรถยนต์ขับเคลื่อนด้วยตัวเองอย่างสมบูรณ์ จะไม่มีพวงมาลัยไว้ควบคุม ระบบขับเคลื่อนอัตโนมัติเลเวล 4 มีเพียงไม่กี่บริษัทในโลกที่ทำสำเร็จ บริษัทไปตู้ของจีน วอลโว่สวีเดน และเวย์โม ของอัลฟาเบธ กูเกิล ของอเมริกา

ที่น่าจับตาดูคือระบบปฏิบัติการ HarmonyOS หรือ หงเมิ่ง ที่หัวเว่ยพัฒนาขึ้นมา จะไม่ได้ใช้แค่สมาร์ทโฟนเท่านั้น จะกลายเป็น Eco System ใหม่ของระบบไอที ทุกสิ่งทุกอย่าง รวมทั้งรถยนต์ไฟฟ้าด้วย

ประการที่สี่ จีนสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับ ข้อจำกัดที่ทำให้คนจำนวนมากยังลังเลที่จะเปลี่ยนไปเป็นการใช้รถยนต์ไฟฟ้า คือกลัวว่าแบตเตอรี่จะวิ่งไม่ได้ไกล ไม่มีที่ชาร์จไฟ แต่ขณะนี้เทคโนโลยีด้านแบตเตอรี่ของจีนพัฒนาไปไกลมาก การเก็บไฟฟ้าเพื่อวิ่งระยะไกลจะไม่เป็นปัญหาอีกต่อไป


ส่วนเรื่องสถานีชาร์จไฟนั้น จีนพัฒนาบริการการชาร์จรถยนต์หลายรูปแบบ เช่น หุ่นยนต์ชาร์จไฟที่เคลื่อนที่มาให้บริการ ไม่ว่าจะจอดรถอยู่บริเวณไหนในสถานี สามารถที่จะใช้บริการได้ รถบริการชาร์จไฟเคลื่อนที่ที่สามารถให้บริการชาร์จรถได้ถึง 4 คันพร้อมกัน

ยกตัวอย่างที่เมืองหนานจิง มณฑลเจียงซู ได้มีการทดลองระบบชาร์จรถยนต์ไฟฟ้าแบบไร้สาย โดยจะมีแผ่นชาร์จไร้สายฝังอยู่บนพื้นดิน เพียงท่านผู้ชมขับรถเข้ามายังจุดชาร์จ แผ่นชาร์จไร้สายจะเริ่มชาร์จทันที โดยผู้ขับขี่สามารถดูข้อมูลการชาร์จได้จากแอปพลิเคชัน

ที่เมืองฉางชุน มณฑลจี๋หลิน ได้มีการทดลองถนนชาร์จไฟที่รถยนต์สามารถใช้ไฟขณะแล่นอยู่บนถนนได้ ถนนนี้จะรวมเทคโนโลยีการเชื่อมต่อเครือข่ายรถยนต์ การขับขี่อัตโนมัติ และฟังก์ชันการชาร์จไร้สายไดนามิกเป็นหนึ่งเดียวกัน ทำให้รถยนต์วิ่งไปด้วยชาร์จไฟไปด้วยได้

การทดลองระบบชาร์จไฟบนถนน จี๋หลิน มีการเปิดเผยเมื่อเดือนกรกฎาคม ที่ผ่านมา


สรุปว่า อุตสาหกรรมรถยนต์ไฟฟ้าเป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดที่จีนใช้การเปลี่ยนเทคโนโลยีเพื่อพลิกเกม จากการเป็นผู้ตาม ให้กลายเป็นผู้นำ ทั้งนี้จีนรู้ว่าการขายเทคโนโลยีจะยั่งยืน ยิ่งใหญ่กว่าการขายสินค้า เพราะเมื่อประเทศและองค์กรได้ตัดสินใจเลือกใช้ระบบ Eco System ระบบใดแล้ว จะยากมากที่จะไปเปลี่ยนแปลง

การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะสั่นสะเทือนอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องมากมาย โดยเฉพาะพลังงานปิโตรเลียมที่เป็นทุนใหญ่ รวมทั้งฐานอำนาจของสหรัฐฯ และชาติตะวันตก ที่ครองอำนาจในการควบคุมระบบโลกผ่านระบบเปโตรดอลลาร์ และเทคโนโลยีเก่าๆ ต่างๆ ในยุคสมัยของการสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่สองที่ผ่านมา และนี่คือการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ที่สี จิ้นผิง วางไว้เป็นนโยบายชัดเจน

ท่านผู้ชมครับ จีนจะปฏิเสธในการที่จะเป็นโรงงานโลกต่อไปในอนาคต แต่ใช้นวัตกรรมทางเทคโนโลยีเหล่านี้เป็นตัวขายออกไป ท่านผู้ชมว่าน่ากลัวไหมครับ จีนวันนี้ ถ้าท่านผู้ชมฟังเรื่องรถไฟฟ้าและโยงมาถึงการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 ท่านผู้ชมจะเห็นภาพชัดว่าจีนเป็นประเทศที่น่ากลัวมาก ไม่ใช่แค่น่ากลัวที่เป็นอันตรายต่อเรานะ จะออกมาแล้วจะนำโลกในอนาคต และนี่คือเหตุผลว่าทำไมอเมริกาและตะวันตกถึงขัดขวางจีน เตะตัดขาจีนทุกประการ เพราะตัวเองสู้จีนไม่ได้เลยในเรื่องพวกนี้ ท่านผู้ชมจำคำพูดผมไว้ อีกไม่เกิน 5 ปี หรือ 10 ปี ท่านผู้ชมจะเริ่มเห็นการล่มสลายของอุตสาหกรรมต่างๆ ในประเทศอเมริกา ท่านผู้ชมครับ อย่าลืมนะครับ ผมเคยพูดในเรื่องหัวเว่ย จำได้ไหมครับว่าหัวเว่ยล้อมโลกเอาไว้ หัวเว่ยไปพัฒนาประเทศด้อยพัฒนาด้วยระบบ 5G ท่านผู้ชมอย่าไปเข้าใจผิดนะครับว่า 5G คือการใช้โทรศัพท์ระบบ 5G อย่างเดียว ไม่ใช่ครับ ระบบ 5G คือการวิวัฒนาการโดยใช้ 5G เข้ามาในทุกบริบทของสังคม ไม่ว่าจะเป็นสังคม การแพทย์ อุตสาหกรรม การศึกษา หมอสามารถจะรักษาคนไข้ได้ในระยะทางไกล ก็คือระบบ 5G นั่นเอง ที่หัวเว่ยสร้างเอาไว้เป็นระบบ และมีหัวเว่ยอยู่เจ้าเดียวในโลกนี้ที่เชี่้ยวชาญ ชำนาญในเรื่องนี้ และหัวเว่ยในเกมหางโจว เอเชียนเกมส์ ได้พัฒนาไปถึง 5.5G ไปแล้ว และอีกไม่กี่ปีจีนจะออก 6G ซึ่งผมจะเอาข้อมูลเรื่อง 6G มาให้ท่านผู้ชมฟัง แล้วท่านผู้ชมจะเห็นได้ชัดว่า เป็นคำตอบที่ชัดเจนว่าทำไมอเมริกาถึงอิจฉาริษยาจีน และต้องกระทำทุกวิถีทาง แม้กระทั่งยั่วยุให้เกิดสงคราม และนั่นคือวิถีทางสุดท้าย เชื่อผมสิ อเมริกาจะยั่วยุให้เกิดสงครามเพื่อระงับการเจริญเติบโตของจีน

ท่านผู้ชมครับ วันนี้ท่านผู้ชมได้รู้ถึงความยิ่งใหญ่ของรถไฟฟ้าจีนแล้ว จริงๆ แล้วผมมีข้อมูลอีกบางอัน เอาไว้มีโอกาสจะเอามาให้ดูก็แล้วกัน ค่ายรถยนต์ที่เมืองกว่างโจว ท่านผู้ชมรู้ไหมว่าเขาทำอะไร เขาทำรถซูเปอร์คาร์ไฟฟ้าขึ้นมา ราคาไม่แพงเท่าไร 5-6 ล้านบาท แต่ว่าสมรรถนะและความยิ่งใหญ่ของรถไฟฟ้าที่เป็นซูเปอร์คาร์ที่ค่ายรถยนต์กว่างโจวทำนั้น ผมคิดว่าเฟอร์รารีก็เหนื่อย ความเร็วสูง เกาะถนนได้ดี เอาไว้วันหลังผมเอามาให้เล่าให้ฟัง สำหรับวันนี้เอาเพียงแค่นี้ก่อน และผมจะพยายามติดตามเรื่องของอิสราเอล-ฮามาส-ฮิซบอลเลาะห์ของเลบานอน อิหร่าน และปฏิกิริยาภูมิรัฐศาสตร์ของโลก ซึ่งอยู่ในจุดสั่นคลอนมากตอนนี้ ทุกอย่างกำลังเปลี่ยนแปลงไป อำนาจเก่า ระบบเก่า อย่างเช่นอเมริกาเป็นผู้นำนั้นกำลังโซซัดโซเซ น่าสนใจมาก แล้วผมจะเอาข้อเท็จจริงมาอธิบายให้ท่านผู้ชมฟัง สวัสดีครับ
กำลังโหลดความคิดเห็น